วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
เทคนิคการซื้อรถป้ายแดง
สิ่งแรกที่คุณ จะต้องทำในการเตรียมตัวซื้อรถนั่นก็คือการถามตัวเองก่อนว่าคุณมี ความจำเป็นในการใช้รถป้ายแดงมากน้อยแค่ไหน หรือแค่เห็นว่ารถรุ่นนี้สวย เท่ห์ หรืออยากขับป้ายแดง กำหนดเงินที่มีอยู่ข้อนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากทีเดียวหากคุณคิดจะซื้อ รถสักคัน เพราะเงินคือสิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าคุณควรจะซื้อรถแบบใด ยี่ห้อใด
หาก ว่า คุณต้องซื้อแบบเงินผ่อนล่ะก็ขอแนะนำว่า คุณต้องดูความสามารถในการผ่อนแต่ละเดือน ไม่ว่าจะเป็นค่าดอกเบี้ย ค่าประกันรถที่ต้องจ่ายทุกปี ค่าซ่อมแซม ถึงจะเป็นรถใหม่ เช็คศูนย์ก็ต้องใช้เงินทั้งนั้น หรือราคาน้ำมันที่แพงขนาดนี้ ตกเดือน หนึ่งคุณต้องจ่ายเท่าไหร่ ลองบวกลบคูณหารแล้วไม่ทำให้คุณเดือดร้อน
ยก ตัวอย่างเช่น ถ้ามีเงินอยู่สองแสนกว่าบาท ก็เก็บ ตรงส่วนปลายไว้เผื่อยามฉุกเฉินบ้าง เอาเงินสองแสน มาดาวน์รถเล็กๆประหยัดน้ำมันอย่างเช่น vios yaris city zx jazz avio เอารุ่นกลางๆ ก็พอราคาประมาณ500,000-600,000 บาทหรือจะเอาปิกอัพก็ได้ เริ่มตั้งแต่ประมาณ 470,000 ขึ้นไปยิ่งช่วงนี้ลดแลก แจกแถมยิ่งกว่าโปรโมชั่นมือถือ บางรุ่นลดเป็นแสน ต่อยอะๆ เข้าไว้ ช่วงนี้เริ่มขายยาก
สมมุติราคารถ 600,000 ดาวน์ 200,000 ก็จะผ่อน เดือนละประมาณ7-8 พันบาทต่อเดือน แล้วอย่าลืมค่าน้ำมันและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเล็กน้อย สรุปแล้วในแต่ละเดือนคุณต้องจ่ายให้กับรถคันนี้ประมาณหมื่นถึงหมื่นสามพัน บาท
เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายส่วนตัวและภาระอย่างอื่นแล้วยังมีเงินเหลือพอหรือเปล่า ตรงนี้คุณจะตัดสินใจได้เอง
สำคัญมากๆ
และ คิดเผื่อในระยะยาวด้วยเพราะต้องผ่อนกันยาว4-5 ปี ไม่ใช่เดือนสองเดือน คิดง่ายๆก็คือคุณต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่ายสองเท่า จะได้ไม่ต้องเหนื่อยมากและเครียดด้วย อีกอย่าง ยี่ห้อรถและราคาขายต่อ มีรถบางยี่ห้อราคา
แพงลิบตอนคุณซื้อ แต่พอคุณคิดจะเปลี่ยนยี่ห้อกลับราคาตกอย่างน่าใจหาย จริงๆแล้วเรื่องราคาขายต่อนั้นก็มีปัจจัยหลายข้อที่ทำให้ราคาตก ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่สภาพหรือสมรรถนะของรถเท่านั้น แต่เกี่ยวกับเรื่องของกระแสความนิยม ความ
ดังของยี่ห้อ สัญชาติของยี่ห้อ จำนวนศูนย์บริการ ราคาอะไหล่ ความชินตาที่เห็นบนถนน ความจุกจิกในการใช้งาน รูปลักษณ์ จำนวนคนที่รอซื้อต่อ หรือความยากในการขายต่อ ความใหม่ของยี่ห้อรวม ถึงการล้มหายไปของยี่ห้อ ฯลฯ ล้วนมีผลต่อราคาขายต่อทั้งนั้น
ทีนี้ก็มาดูขั้นตอนต่อไปครับ
1. ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่ามีความรู้เรื่องรถมากน้อยขนาดไหน การซื้อรถมือหนึ่งอาจมีจุดสำคัญที่ต้องพิจารณาไม่มากเท่ารถมือสอง แต่ยังไงก็ควรละเอียดถี่ถ้วนสักนิดเพื่อให้ได้รถดีๆมาขับ
เอาแบบคร่าวๆแล้วกัน
1. ต้องถูก
- ถูกต้องตามกฎหมาย (แล้วผิดกฎหมายใครจะซื้อ ) ก็พวกรถนำเข้าทั้งหลายนั่นแหละ
- ถูกเงิน นิยามของคนซื้อที่ดีที่สุดคือ “เราเป็นเจ้าของเงินเพราะฉะนั้นเราต้องเป็นผู้เลือก’’ ไม่ต้องกลัวเซลล์ไม่ได้ขายรถ หรือมันจะหมดก่อน อย่าหลงคารมเซลล์สาวๆสวยๆเป็นอันขาด (เหมือนใครหว่า)
- ถูกใจ เพื่อนบอกให้ใช้รถเบนซ์ ที่บ้านบอกบีเอ็ม ลูกอยากได้4x4 ข้างบ้านบอกกระบะดีกว่า หรือกิ๊กบอกเอารถมินิ
น่า รักๆ สารพัดถูกใจคนรอบข้าง แต่คุณต้องย้อนกลับมาถามตัวเองแล้วล่ะว่าซื้อรถไปเพื่ออะไร เพื่อใคร เพื่อเพื่อน เพื่อพ่อแม่ เพื่อลูก หรือเพื่อตัวเองหรือซื้อให้กิ๊ก แล้วคุณจะตอบโจทย์และยี่ห้อที่คุณเลือกได้
2. ต้องมีความรู้เรื่องรถ ไม่ใช่รู้แบบละเอียด แต่ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถบ้างเช่น
2.1 ปีที่ผลิต และปีที่จะซื้อ ซึ่งรถยนต์ส่วนใหญ่จะออกใหม่ทุกๆ4-6ปี เพื่อจะไม่ได้เสียใจที่ได้รถตกรุ่นออกไปแล้วรุ่น
ใหม่ตามออกมาทันที ไม่ต้องมานั่งช้ำใจผ่อนกันยาว และจะได้ไม่มีปัญหาเรื่องอะไหล่สำรอง
2.2 เครื่องยนต์ เป็นแบบไหน เทอร์โบหรือธรรมดา สเป็คเครื่องยนต์สมรรถนะช่วงล่าง
2.3 เลือกยี่ห้อไหนดี
- รถยุโรป
ข้อดี หรูหรา ระบบความปลอดภัยสูง คุณค่าทางสังคมสูง
ข้อเสีย ราคาสูง ค่าบำรุงรักษาแพง บางยี่ห้อขายแพงเกินจริง ทั้งที่เมืองนอกขายถูก ก็โดนภาษีซะ….
- รถอเมริกัน
ข้อดี ได้ความปลอดภัย แข็งแรงทนทาน
ข้อเสีย มีเข้ามาขายน้อยมาก ศูนย์บริการน้อย ราคาขายต่อตกมาก
- รถญี่ปุ่น
ข้อดี มหาอำนาจรถยนต์เมืองไทยยึดครองส่วนแบ่งการตลาดมีจุดเด่นเรื่องราคา ศูนย์บริการและอะไหล่สำรอง รูปร่างหน้าตาที่ถูกใจคนไทย
ข้อเสีย ที่เห็นอยู่ก็คงเรื่องระบบความปลอดภัยที่ต้องปรับปรุง
- รถเกาหลี
ข้อดี เทคโนโลยีไม่เป็นรองใครแถมราคายังถูกกว่ามาก
ข้อเสีย การประกอบ ราคาอะไหล่และศูนย์บริการน้อยมาก
2.3 รุ่นของรถ
รหัสท้ายรถแต่ละรุ่นมีความหมายแตกต่างกันทั้งเครื่องยนต์ สมรรถนะ ราคาและคุณภาพ
ยกตัวอย่างเช่น I จะเป็นเครื่องหัวฉีด
1.8 จะเป็นขนาดเครื่องยนต์ ความจุ 1,800 ซีซี
AT = เกียร์ออโต เป็นต้น
2. ข้อควรคำนึงในการซื้อรถใหม่
- คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยให้มากที่สุด บางคนซื้อรถตามกระแสเช่นซื้อ 4x4 แต่ไม่เคยขับขึ้นเขาลงห้วยซักครั้ง หรือขับแต่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ ซื้อปิกอัพเผื่อบรรทุกแต่ไม่ได้ใช้งานเลยหรือรถเก๋งคันเล็กๆแต่นั่งเต็ม อัตราแถมขนของ
เต็มอีกต่างหาก
- สมรรถนะของรถ ควรทดลองขับดูก่อนว่าถูกใจไหม ความแรงมันจะสวนทางกับความประหยัดเสมอ เลือกให้ตรงกับเราที่สุด
- ตรวจเช็คเกี่ยวกับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงว่าใช้ประเภทไหนคุ้มค่าหรือไม่
- ราคาอะไหล่และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา แพงมากไหมศูนย์บริการสะดวกหรือเปล่าหรือหาแทบไม่ได้เลย ใน
อนาคตเป็นอย่างไร -)
- อุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีให้มาครบหรือยัง
-รูปทรงภายนอก เป็นหัวข้อแรกๆเลยเป็นความชอบส่วนบุคคล เลือกให้ตรงกับที่เราชอบมากที่สุด
- เปรียบเทียบก่อนซื้อ ควรดูหลายๆยี่ห้อเทียบกันทุกๆด้านใจเย็นๆ (ดูหลายๆคนเข้าไว้)
- ระบบความปลอดภัย เช่นถุงลม ABS หรือว่าโครงสร้างตัวรถ
- จะเอาเกียร์ธรรมดาหรืออัตโนมัติเอาที่ตัวเองถนัด
- เลือกซื้อจากโชว์รูมหรือตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ
- ตกลงกับผู้ขายหรือตัวแทนจำหน่ายเรื่องการโอนรถและทะเบียนให้ดีว่าใครเป็นคนจ่าย
- ควรมีเพื่อนหรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับรถไปด้วยดีที่สุด
- สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องได้ทดสอบขับเสียก่อน อย่าตัดสินใจซื้อเมื่อไม่มีโอกาสได้ทดสอบขับ เพราะหากมีอะไรไม่ถูกใจหรือไม่ชอบจะได้เปลี่ยนรุ่นหรือยี่ห้อได้
-.ควร ดูราคาหลายๆแห่งก่อนซื้อ เพราะว่าแต่ละบริษัทอาจจะมีโปรโมชั่นที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ อุปกรณ์เสริม เช่น ล้อแม็กซ์ แอร์ วิทยุ กันสนิม ซ่อมฟรี และฟรีประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คุณควรจะลองดูหลายๆแห่งอาจจะได้รถดีราคาไม่แพงมากก็ได้
- เช็คราคาอะไหล่และศูนย์บริการ รถบางยี่ห้อราคาอะไหล่แพงหูฉี่และหายาก มีความลำบากในการซ่อม รวมทั้งค่าซ่อมแพง หรือว่าบางยี่ห้อต้องใช้อะไหล่ของทางบริษัทเท่านั้น รวมถึงเรื่องของศูนย์บริการที่รถบางยี่ห้อมีไม่กี่แห่ง อาจจะลำบากในการหาศูนย์บริการหากคุณอยู่ไกล
-หาข้อมูลเพิ่มเติมสื่อใน ปัจจุบันนั้นมีมากมายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือ อินเตอร์เน็ต คุณสามารถเช็คข้อมูลได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับรถที่คุณอยากรู้ แต่ต้องอย่าลืมว่าสื่อเหล่านี้ไม่ได้ถูกต้องไปเสีย
100 % คุณอาจจะลองถามเพื่อนที่ใช้รถดูเค้าอาจมีคำแนะนำให้คุณแต่ความคิดส่วนตัวแต่ละคนแตกต่างกันไป
- การทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 เลือกบริษัทที่น่าไว้ใจหน่อย โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับ เพราะโอกาสเกิดอุบัติเหตุมีสูง เช็คราคาการประกันรถยนต์ ถ้าคุณจะซื้อรถเก่า ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 10 ปี บริษัทประกันบางแห่ง จะไม่รับประกันภัยชั้น 1 ให้คุณถ้าเกิดกรณีอุบัติเหตุ จะทำให้คุณต้องเสียเงินมากซื้อรถใหม่ป้ายแดงรอบคอบสักนิด จะได้ไม่ต้อง คิดทุบ คิดเผา สิ่งที่หลาย ๆ คนอยากทำเหมือนกันก็คงจะเป็นการถอยรถใหม่ป้ายแดงออกมาเชยชม ให้คุ้มกับการ
ที่ เหน็ดเหนื่อยมาทั้งปีแล้วให้รางวัลชีวิตสักหน่อยก็คงไม่มีใครว่าหรอก แต่การจะซื้อรถป้ายแดงสักคัน ซึ่งตอนนี้ก็คงจะต้องคิดกันหน่อย ทั้งราคารถบวกกับราคาน้ำมันก็แพงแสนแพง
มิหนำซ้ำซื้อรถป้ายแดงใหม่ ๆ ถอยจากศูนย์ช่วงนี้ก็ดันมีปัญหาพ่วงท้ายมา ให้ต้องกุมขมับ ดังนั้นจึงควรที่จะรอบคอบกันสักนิดนะครับ
3. ข้อดีของรถใหม่
1. คุณสามารถเลือกสี การตกแต่ง และรูปแบบได้ตามต้องการ
2. น่าวางใจและมีประกันภัยคุ้มครอง
3. สภาพและราคาง่ายต่อการตัดสินใจ
4. ผู้ขายจะมีการจัดหาสถาบันทางการเงิน ซึ่งดอกเบี้ยถูกกว่าคุณหาเอง หรือบางยี่ห้ออาจไม่เสียดอกเบี้ยเลย
5. มีประกันหลังการขาย และบริการจากผู้ชำนาญงาน
4. ต่อไปมาดูเคล็ดลับง่ายๆกันบ้าง
4.1 หาก เซลล์หรือพนักงานขายรถ มีลูกเล่นหรือลูกล่อลูกชนที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น เช่นใกล้ขึ้นราคาแล้วให้รีบซื้อ หรือขู่ว่าสัปดาห์หน้าเดือนหน้าจะขึ้นราคาแล้ว กรณีนี้มีทั้งจริงและไม่จริง ยากที่จะพิสูจน์ได้ เพราะกำหนดการขึ้นราคาขึ้นอยู่กับบริษัทหลัก ไม่ใช่ดีลเลอร์ทั่วไป การติดตามข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ พอช่วยได้ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครทราบลึก ควร ซื้อเมื่อการเงินของตัวเองพร้อม หรือมีความจำเป็นในการใช้รถโดยไม่ต้องสนใจการขู่ว่าจะขึ้นราคา
4.2 รถใกล้ตกรุ่น แต่บอกว่ารุ่นใหม่อีกนาน ไม่ว่าเซลล์ คนนั้นจะไม่ทราบจริง ๆ หรือทราบแต่โกหก ก็นับเป็นเรื่องปกติที่จะต้องบอกแบบนี้ ไม่เช่นนั้นก็ระบายสต็อกรุ่นเก่าได้ยาก เราสามารถรู้เท่าทันได้ โดยติดตามข่าวสารจากต่างประเทศ และในประเทศตามสื่อต่าง ๆ เพราะไทยเป็นประเทศเล็ก ๆ อย่างไรก็ต้องเปิดตัวรถรุ่นใหม่ตามตลาดโลก ไม่ได้มีรถรุ่นที่ผลิตให้เฉพาะไทยแน่ ๆ
4.3 ของแถมมีราคาแพง เป็นปกติไปแล้วที่จะต้องมีส่วนลดเป็นยอดเงินหรือมีของแถมให้เป็นแรงจูงใจ มักจะมีการบอกราคาของแถมเกินจริงหรือเกินคุณภาพไปมาก ตรวจสอบได้ไม่ยาก โทรศัพท์สอบถามจากเบอร์โทรศัพท์ตามหน้า
โฆษณาในนิตยสารต่าง ๆ ที่มีสินค้าเดียวกันจำหน่ายอยู่ เพราะของแถมก็มักจะมาจากร้านประดับยนต์ต่าง ๆ เหมือน ๆกัน
5. มาดูเคล็ดลับการจองรถกันบ้าง
-เดินเข้าไปในโชว์รูมมองหาเซลสาวๆที่สวยที่สุด แหะๆ (ล้อเล่น หื่นจังเลยตรู)
หลัง จากที่ชมรถพร้อมทั้งฟังหล่อนสาธยาย ยกแม่น้ำทั้ง 5 มาแล้วอย่าลืมขอเธอทดลองขี่ดูก่อน(เฮ้ยทดลองขับรถ) แล้วค่อยมาคุยรายละเอียดกัน ซึ่งข้อความต่อไปนี้ยืมมาจากในหนังสือ ลองดูนะครับ
รายละเอียดข้างล่างนี้ เป็นเคล็ดลับที่ผู้ขายนิยมใช้ โดยแต่ละข้อเป็นคำแนะนำและวิธีแก้ซึ่งเหมาะสมที่สุด
เคล็ดลับ - จากค่าเฉลี่ย เซลแมนขายรถชอบคุยกับคุณ เป็นเวลานาน เพื่อให้คุณมีเวลาเปรียบเทียบร้านค้าได้
น้อยลง
วิธีแก้ - อย่ารีบร้อน ถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการ ให้ออกไปหาร้านใหม่
เคล็ดลับ - เซลแมนย่อมมีความสามารถในการโน้มน้าว ให้คุณรู้สึกต้องการรถที่เขาแนะนำได้ไม่ยาก
วิธี แก้ - อย่าตกหลุมพราง แม้คุณจะรู้สึกว่าต้องการรถคันนั้นมาก อย่าพึ่งบอกให้เซลแมนรู้ ให้ออกจากร้านนั้นเพื่อใช้เวลาคิดประมาณ 48 ชั่วโมง ก่อนเซ็นสัญญาซื้อ
เคล็ดลับ - เซลแมนขายรถบางคนมีความชำนาญมาก คุณจะรู้สึกสะดวกสบาย และไว้วางใจในคำพูดของเขา
วิธี แก้ - อย่าลืมว่าเขาคือเซลแมนที่มีจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวคือหาเงิน ( จากคุณ ) ถึงเขาจะเป็นเซลแมนที่ดี แต่นั่นคือหน้าที่ของเขาคุณควรเพียงมองหาสิ่งที่ต้องการ
เคล็ดลับ - ทันทีที่คุณเดินเข้าไปในร้าน งานของเซลแมนคือการขายรถให้คุณในราคาสูงที่สุดที่จะทำได้
เพราะหัวใจสำคัญของเซลแมน คือกำไรและคอมมิชชั่น ( เซลแมนส่วนมากทำงานแลกกับค่าคอมมิชชั่น )
วิธี แก้ - คุณจำเป็นต้องทำการบ้าน รู้ราคารถและตัดสินใจก่อนที่จะเดินเข้าไปในร้าน อย่าซื้อก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาทำการเปรียบเทียบใช้เงินของคุณให้คุ้มค่าที่ สุด
เคล็ดลับ - เซลแมนยืนยันที่จะไม่ลดราคา
วิธีแก้ - ไปที่อื่น หัวเราะและเดินออกไป
เคล็ดลับ - เซลแมนยืนยันว่านั่นคือราคาพิเศษแล้ว
วิธีแก้ - ถ้าคุณพบการยืนยันเช่นนี้ อย่าเชื้อง่าย ๆ พิจารณาว่าเซลแมนโกหกหรือไม่? กลับมาคิดก่อน
เคล็ดลับ - เซลแมน ยืนยันว่า ราคาที่เสนอให้คุณไม่เคยมีใครได้ หรืออื่น ๆ
วิธีแก้ - อย่าเชื่อ แน่วแน่กับความต้องการของคุณ
เคล็ดลับ - ผู้ขายรถที่มีประสบประการเจรจาซื้อขายรถถี่กว่า 5,000 ครั้งในแต่ละปี หรือมากกว่านั้น พวกเขาเป็นมือโปร
วิธี แก้ - ไปจากคนขายพวกนี้ พวกเขาแค่ใช้สองสามเกมในการเจรจาซื้อขายก็สามารถมัดคุณอยู่มัดคุณมองหา คนขายที่ยังเด็กอยู่ พวกเขาจะมีประสบการณ์น้อย และอยากขายได้มากกว่า แต่อย่าประมาท เพราะเซลแมน เหล่านี้จะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ในการอบรมเทคนิคการขายเช่นกัน
เคล็ดลับ - การซื้อรถในเวลากลางคืน หรือในวันหยุดจะเป็นเวลาดีที่สุดของผู้ขาย
วิธีแก้ - เลือกซื้อรถระหว่างวันหยุด หรือวันสิ้นเดือน เพราะผู้ขายจะยอมต่อรอง เพื่อเพิ่มยอดขาย ในเดือนนั้น
เคล็ด ลับ - เซลแมนจะกลัวการเดินออกจากร้านของคุณมาก ดังนั้นพวกเขาจะขอที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และรายละเอียดที่สามารถติดต่อคุณได้ เพื่อไม่ให้สูญเสียลูกค้า
วิธีแก้ - คุณจะเริ่มควบคุมราคาได้ในขั้นแรก การที่เซลแมนทำเช่นนี้ เมื่อคุณเริ่มเดินออกจากร้าน เป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมของคุณ ดังนั้นถ้าคุณไม่พอใจราคาที่เขาเสนอ เดินออกจากร้านมาเสีย
เคล็ดลับ - ลูกค้าส่วนใหญ่รู้ดีว่า การเซ็นสัญญาในข้อตกลงที่ยังไม่พอใจทั้งหมด คือการตาบอดในแง่ของกฎหมาย แต่ด้วยความสามารถในการโน้มน้าวของเซลแมน เขากลับทำในส่งที่ตรงกันข้ามกับความตั้งใจ
วิธีแก้ - ก่อนเซ็นสัญญา ให้คุณตรวจดูรายละเอียดทั้งหมด ตรวจดูกำหนดการจ่ายเงิน และค่าใช้จ่ายที่คุณต้องเสียโดยละเอียด นึกถึงตอนจ่ายเงินไว้ให้ดี
6. มาดูการเจรจาต่อรองที่คุณควรและไม่ควรทำ
ด้วย ความพยายาม คุณจะพบว่าการเจรจาซื้อขายให้ได้กำไรเป็นเรื่องง่ายกว่าที่คิด และเมื่อคุณเริ่มป้องกันตัวเองจากการเอารัดเอาเปรียบได้ทักษะในการซื้อขาย ที่สัมฤทธิ์ผลจะเป็นของคุณ แม้ว่าคุณจะไม่เคยมีโอกาสเรียนรู้มาก่อน แต่คุณสามารถเริ่มต้นได้จากข้อสังเกตเหล่านี้
ทำ - หาราคาที่แน่นอน ก่อนตกลงซื้อขายกับคนขาย
ทำ - ศึกษารถแบบต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบราคา
ทำ - ตัดสินใจก่อนจะทำการเจรจาซื้อขาย
***อย่าทำ - ยอมรับราคาที่สูงกว่าตลาดเพราะอยากได้รถเร็ว ๆ
ทำ - ตัดสินใจขั้นแรก 20 เปอร์เซ็นต์ก่อนตัดสินใจเด็ดขาด
ทำ - ยืนยันความต้องการของคุณ
***อย่าทำ - แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในรถคันใดคันหนึ่ง
ทำ - เตรียมที่จะเดินออก เมื่อคุณรู้สึกอึดอัดในการตัดสินใจ เพื่อรักษาทางเลือกเดิมไว้ และป้องกันตัวเองจากโน้มน้าวของคนขาย
***อย่าทำ - อย่าให้เซลแมนควบคุม หรือทำให้คุณพอใจมากเกินไป
ทำ - ถ้าเซลแมนซักถามคุณมากเกินไป ตอบคำถามด้วยการย้อนถาม
ทำ - ตรวจสอบรายละเอียดในสัญญาอย่างรอบคอบก่อนตกลงใจซื้อ
ทำ - แสดงให้เขารู้หากพบข้อบกพร่องในการทำงานหรือปัญหาของผู้ขาย
ทำ - ตัดสินใจในส่วนสุดท้าย เมื่อกลับถึงบ้านแล้ว
***อย่าทำ - อย่าคุยกับเซลแมนเพียงคนเดียวมากกว่า 2 ครั้ง
ทำ - บอกถึงทุกสิ่งที่คุณต้องการ ก่อนเซ็นชื่อ
ทำ - ทำให้เซลแมนเชื่อว่าเขาจะได้เงินจากการค้า หากยอมรับราคาที่คุณต้องการ บอกถึงราคาที่คุณจ่ายได้
ทำ - ชวนเพื่อน หรือคนรู้จักที่มีประสบการณ์ไปให้ คำแนะนำในการซื้อรถ หรือการเจรจาต่อรองด้วย
หลักการสำหรับคุณในการเจรจาซื้อขาย
คุณ ควรหลีกเลี่ยงการเจรจาต่อรองที่นานเกินไป ผู้ขายจำนวนมากจะยอมรับข้อต่อรองของลูกค้า เพราะไม่ต้องการสูญเสียลูกค้าให้ร้านอื่น เช่นหลังจากเลือกและลองขับรถดูแล้วถ้าคุณพอใจ สิ่งที่คุณควรพูดคือ
" ฉันชอบรถคันนี้มากและอยากได้ด้วย ถ้าได้ราคาที่สามารถจ่ายได้ก็จะซื้อไว้วันนี้เลย แต่ถ้าไม่ได้ราคาที่ต่อรองก็คงต้องยอมปล่อยมันไป เพราะฉันคิดว่าราคาที่บอกเป็นราคาที่ยุติธรรมแล้ว ฉันจะลองไปร้านอื่นดูเผื่อได้รถแบบเดียวกัน
และถ้าเป็นราคาที่พอรับได้ ก็คงพอใจซื้อที่นั่นเลย "ด้วยประโยคนี้ทำนองนี้ คุณจะได้รับสิ่งที่ต้องการตัดบทสั้น ๆ ด้วยประโยคที่สามารถโน้มน้าวผู้ขายได้ จากนั้นพยายามล่อใจพวกเขาด้วยกลวิธีการเจรจาต่อรอง แต่สิ่งที่ควรระวังคือ ถ้าผู้ขายตกลง หลังจ่ายเงินแล้วควรตรวจแบบและรุ่นในใบส่งของให้ละเอียด เพื่อแน่ใจว่าผู้ขายไม่ได้แสดงรถคันนั้นแต่ขายรถอีกคันหนึ่งให้ ซึ่งจะกลายเป็นการขาดทุนจากความเลินเล่อของคุณเอง
หลังจากพอใจในข้อ เสนอแล้วก่อนจะจ่ายเงินค่าจองให้ตรวจเช็คดูรายละเอียดอีกทีหนึ่งว่าเขาเขียน ให้ครบตามที่เราขอหรือเปล่า ถ้าไม่ครบบอกวันมารับรถจะให้ก็ไม่ต้องจอง
7. แบบของการชำระเงิน: เป็นแบบที่เหมาะสมกับคุณหรือไม่
แปด ในสิบของผู้ซื้อรถใหม่จะใช้ระบบเงินผ่อนจากผู้ขาย การจ่ายเงินระบบเงินผ่อนไม่ใช่ระบบที่เหมาะสมสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตามถ้าคุณเพิ่งเริ่มทำงาน หรือซื้อรถเป็นครั้งแรกไม่มีเงินสะสมมากพอ ไม่ต้องการเสียเงินก้อนใหญ่หรือต้องการตัดภาระให้เป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนที่ ต่ำ วิธีเงินผ่อนเป็นวิธีที่ดีที่สุดของคุณ แต่คุณควรเปรียบเทียบสถาบันการเงิน และหาข้อมูลในการกู้เงินระหว่างธนาคารและบริษัทเงินกู้เสียก่อน อย่าเพิ่งเซ็นชื่อใด ๆ ทั้งสิ้น
เปรียบเทียบระยะเวลาแล้วจึงเลือกแหล่งเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำที่สุด
รูปแบบต่าง ๆ ของระบบการเงินก่อนตกลงทำสัญญากับผู้ขายในระบบเงินผ่อน ให้เปรียบเทียบดอกเบี้ยและรายจ่ายที่คุณต้องเสียไปด้วย
1.บริษัทไฟแนนซ์
** ดอกเบี้ยสูงกว่าธนาคารทั่วไป
** จำนวนเงินขึ้นอยู่กับแบบ รุ่น และยี่ห้อของรถ
** ไม่เน้นการขายรถ
2. ธนาคาร
** ดอกเบี้ยถูกกว่าบริษัทไฟแนนซ์ที่บริษัทขายรถจัดให้
** ดอกเบี้ยต่อเดือนต่ำ
การกู้ยืมทั่วไป
** ให้ราคาสูงกว่าธนาคารและบริษัทไฟแนนซ์
** ควรจะกู้ยืมเป็นเวลาสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้
** มีการจัดเตรียมแนวทางเลี่ยงภาษีไว้ให้คุณ
3. การกู้ยืมจากบริษัทประกันภัยที่คุณทำประกันภัยด้วย
** ดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินทั้งหมด
** สามารถจัดแผนการจ่ายเงินรายเดือนได้เอง
8. เมื่อคิดว่าได้รถตามที่ตัวเองต้องการแล้วก่อนจ่ายเงินควรต้อง ตรวจเช็คสักนิดก่อนรับรถใหม่
ขั้นตอนรับรถใหม่ป้ายแดง
ก่อน ที่จะลงนามในเอกสารเพื่อรับรถ ตรวจตาดูรถให้เรียบร้อย จริงๆ อย่าเพิ่งไปกังวลเรื่องของแจก ของแถม อย่าไปกังวลเรื่อง ที่รับรถไปแล้วจะตกแต่งให้ถูกอก ถูกใจอย่างไร ขอให้เป็นเรื่องของทีหลังดีกว่า
1. เริ่มกันตั้งแต่สี รอบๆ คันรถเลยครับ รอยขนแมว รอยผิวเปลือกส้ม ร่องรอยของการหลุดกระเทาะตามจุดต่างๆ โดยทั่วๆ ไปแล้ว ถ้าฝ่ายขายของรถยี่ห้ออะไรก็ตาม มีเจตนาที่บริสุทธิ์ เชื่อมั่นในคุณภาพของรถ ไม่ว่าจะเป็น ผลิตจากที่ใด
การส่งมอบรถให้กับ ลูกค้า เขาจะกระทำกันในที่ที่มีแสงสว่าง มองเห็นตัวรถได้ทุกด้าน ทุกมุมเพราะฉะนั้น เมื่อวันที่คุณไปรับรถจากที่ใดก็ตาม ถ้ารถคันนั้นถูกจัดให้จอดอยู่ตามซอกตามมุม มีแสงสว่างไม่ชัดเจนที่จะมองเห็นตัวรถได้ทุกจุด ทุกมุม ขอให้สงสัยไว้ในใจ ก่อนเลยว่า น่าจะมีอะไรผิดปกติกับรถคันนั้น ใครจะว่าขี้สงสัย ขี้หวาดระแวง ก็ช่างเขา เพราะเงินของ เมื่อตรวจตราดูทุกซอกทุกมุมจากภายนอกแล้ว ก็เปิดประตูทุกบาน ฝากระโปรงหน้า ฝากระโปรงหลัง ไล่ตรวจทุกจุด จะเสียเวลาไปบ้างก็ช่างมัน
2. ในขณะนี้ ที่ตรวจสอบตามซอกตามมุมอยู่นั้น ถ้าบริเวณนั้นอากาศปลอดโล่ง มีการถ่ายเทอย่างดี ก็ติดเครื่อง เปิดแอร์ทิ้งไว้ เพราะในขณะที่ใช้สายตาตรวจดูตามจุดต่างๆ หูก็จะได้ฟังเสียงเครื่องยนต์ เสียงท่อไอเสียไปด้วย ฟังดูว่ามีเสียง
อะไรที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นมาบ้างหรือเปล่าเมื่อตรวจดูตามขอบตามซอกตามมุมหมดแล้ว ยังไม่จำเป็นต้องรีบดับเครื่องเข้าไปนั่งในรถ ในตำแหน่งที่ต้องนั่งขับประจำ เหยียบคันเร่ง เหยียบเบรก เหยียบคลัทช์ เหมือนเช่นที่ขับรถ
ปกติว่ามีอะไรผิดแผกแตกต่างจากที่เคยขับหรือไม่หลัง จากนั้น ก็ทดสอบทดลองสวิตช์ปุ่มควบคุมทั้งหลายแหล่ประดามีว่าทุกอย่างทำงานตามที่ โฆษณาเอาไว้
หรือไม่ และมีอะไรที่ขาดหายไปจากที่ตกลงกันไว้ตอนวางเงินจอง เงินมัดจำ ก็ไล่เรียงเอากันเสียตอนนี้ สวิตช์ควบคุมคันบังคับทั้งหลายแหล่ ถ้าไม่เข้าใจวิธีการใช้งานกันตอนนี้ ก็ถาม ถามให้เข้าใจทะลุปรุโปร่ง ถ้าหากทุกอย่างเป็นที่พอใจ ก็ต้องทำกันถึงฎีกาคือ ทดลองขับ
3. เมื่อทุกอย่างหมายถึงตัวรถทั้งภายนอก ภายในเรียบร้อยแล้ว ก็เป็นเรื่องของการตรวจสอบเงื่อนไขของการบริการหลังการขาย พร้อมทั้งการรับประกันสินค้า (Warranty) เพราะหลายยี่ห้อข้อความโฆษณาตามสื่อต่างๆ นั้น มีเพียงเพื่อชวนเชื่อให้น่าซื้อ แต่เมื่อซื้อจริงๆ แล้วต้องทบทวนตรวจทานซักถาม สอบถามกันให้ถึงแก่น ถึงเรื่องที่จะได้ และเรื่องที่จะเสีย ไม่เช่นนั้น อาจจะมีการหมกเม็ดให้ช้ำใจได้
4. เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว ก็เรื่องของสัญญาการคุ้มครองอุบัติเหตุ หรือการประกันภัย ซึ่งค่าเบี้ยประกันในยุคนี้ ไม่ใช่ถูกๆ บริษัทที่รับประกันนั้น น่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด โดนกันมาหลายรายแล้ว เรื่องซ่อมห้าง ประกันชั้นหนึ่ง แต่ชิ้นส่วนที่นำมาเปลี่ยนให้เป็นของเชียงกง ครับ คงจะหมดเรื่องกันเท่านี้ สำหรับขั้นตอนการซื้อขาย เชื่อเถอะครับ รับรองได้ว่าเซลล์ที่ขายรถให้คุณนั้น จะยืนนั่งอย่างกระสับกระส่ายอยู่ข้างๆ คุณ และอาจจะ (แอบ) ถอนหายใจเมื่อคุณลงลายมือชื่อรับรถเป็นที่เรียบร้อยนั่นหมดหน้าที่ของ พนักงานขายไปแล้ว และเขาก็ไม่รู้จักคุณอีกต่อไป จนกว่าคุณอยากจะเปลี่ยนรถใหม่ แต่ภาระหน้าที่ของคุณ
5. ก่อนออกจากโชว์รูม ก็ควรจะทำความรู้จักกับผู้รับผิดชอบฝ่ายบริการ ซึ่งคุณต้องฝากชีวิต (คุณภาพของการซ่อมบำรุง) ฝากความเป็นอยู่ (ราคาของค่าบริการ) ไว้กับเขาจนกว่าคุณจะเลิกใช้รถ สงสัยอะไรที่ทางฝ่ายขายชี้แจง ไม่
กระจ่าง ก็ซักถามเอากับฝ่ายบริการได้ ตอนนี้ (เพราะคุณขับป้ายแดง)
** การรันอิน รถใหม่ป้ายแดง **
เมื่อท่านซื้อรถใหม่สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ การรันอิน และการรันอินนั้นจะต้องทำอย่างถูกวิธี
........ เป็นที่ทราบกันดีว่ารถใหม่หรือช่วงเครื่องยนต์ใหม่หรือช่วงรัน-อินคือช่วง ที่มีการสึกหรอมากที่สุดเพราะชิ้นส่วนต่างๆยังไม่เข้าที่อยู่ระหว่างการปรับ สภาพซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่ออายุงานของรถว่าจะยาวนานขนาดไหน เมื่อมีโอกาสซื้อป้ายแดงซักคันจะได้ปฏิบัติเพื่อถนอมรถให้มีอายุยืนยาวที่ สุดเพราะคันนึงถูกๆซะเมื่อไหร่
1.ที่ระยะ100 กิโลเมตรแรก
.....หลัง จากขับออกจากโชว์รูมมาช่วงแรกนี้ผมจะถนอมรถมากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะผม ถือว่าเป็นช่วงที่มีการสึกหรอมากที่สุดและรุนแรงที่สุด โดย:
1.1.ออกตัว นิ่มนวลที่สุดค่อยๆปล่อยคลัทช์และกดคันเร่งเบาๆให้รอบค่อยๆสูงขึ้นทีละน้อย ให้รถค่อยๆเคลื่อนตัวออกไป ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็ค่อยๆปล่อยเบรคจนสุดรถก็จะเคลื่อนตัวออกไปเองอย่างช้าๆ แล้วค่อยมาแตะคันเร่งกดลงเบาๆเช่นกัน(ถ้าฝึกบ่อยๆเราจะกลายเป็นคนที่ขับรถ อย่างนิ่มนวลไปโดยอัตโนมัติและจะชินกับมันตลอดไป)
1.2.ควบคุมรอบเครื่อง ไม่ให้เกิน 2,000รอบ เปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นทันทีที่2,000 รอบ และลดเกียร์ต่ำลงทันทีที่ 1,200รอบ ถ้าเป็นเกียร์ออโต้ก็จะปล่อยให้มันทำงานเองแต่จะควบคุมความเร็วไม่ให้เกิน 60 กม/ชม.และจะใช้โอเวอร์ไดรว์ทันทีที่ความเร็วถึง 60กม/ชม.
1.3.เปลี่ยน เกียร์และรอบเครื่องหรือความเร็วมากหรือบ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้โดยไม่แช่ หรือนิ่งไว้ที่รอบหรือความเร็วใดๆ โดยการกดหรือผ่อนคันเร่งช้าๆอย่างนิ่มนวลเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเอนจิ้นเบรค
1.4 ควบคุมความเร็วสูงสุดไม่ให้เกิน 60กม./ชม.
1.5 หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรคอย่างรุนแรง(ยกเว้นฉุกเฉิน)ยังไงเราก็ขับช้าอยู่ แล้วสามารถที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าและวางแผนการแตะเบรคได้อย่างนิ่มโดยไม่ยาก นัก แต่ถ่าสามารถหาถนนโล่งๆได้ก็จะชิดซ้ายและแตะเบรคเป็นระยะๆ เพื่อลดความเร็วและจะได้เปลี่ยนเกียร์-ความเร็ว-รอบเครื่องบ่อยๆได้อีกด้วย
2. ที่ระยะ101-500 กิโลเมตร
2.1 การปฏิบัติยังเป็นแบบเดิมทุกประการเพียงแต่จะลดความถี่ในการกระทำลงไปเช่น การเปลี่ยนเกียร์-รอบ-ความเร็วจากที่เคยทำอยู่ตลอดเวลาก็อาจจะลดเหลือซัก 5-10นาทีครั้ง
2.2 เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจากไม่เกิน 2,000รอบเป็นไม่เกิน 2,500รอบ (รอบต่ำลดเกียร์ราว 1,500-1,200รอบ)
2.3 เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 60 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 80 กม/ชม.
2.4 เมื่อถึงระยะ 500กิโลเมตร ทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองและน้ำมันเกียร์พร้อมกรอง(ถ้ามี)
3. ที่ระยะ501-1,000 กิโลเมตร
3.1 การปฏิบัติยังเป็นแบบเดิมทุกประการเพียงแต่จะลดความถี่ในการกระทำลงไปเช่น การเปลี่ยนเกียร์-รอบ-ความเร็วจากที่เคยทำอยู่จากข้อ2ราว 5-10นาทีครั้งก็อาจจะลดเหลือซัก 10-15นาทีครั้ง(รวมไปถึงการแช่รอบ-และความเร็วด้วย)
3.2 เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจากไม่เกิน 2,500รอบเป็นไม่เกิน 3,000รอบ(รอบต่ำลดเกียร์ราว 1,500-1,200รอบ)
3.3 เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 80 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 100 กม/ชม.
3.4 เมื่อถึงระยะ 1,000กิโลเมตร ทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง-น้ำมันเบรค-น้ำมันคลัทช์(ถ้ามี )-น้ำมันเฟืองท้าย(ถ้ามี)-น้ำมันพวงมาลัย(ถ้ามี)
4. ที่ระยะ1,001-1,500 กิโลเมตร
4.1 การปฏิบัติยังเป็นแบบเดิมทุกประการเพียงแต่จะลดความถี่ในการกระทำลงไปเช่น การเปลี่ยนเกียร์-รอบ-ความเร็วจากที่เคยทำอยู่จากข้อ3ราว 10-15นาทีครั้งก็อาจจะลดเหลือซักไม่เกิน 30นาทีครั้ง(รวมไปถึงการแช่รอบ-และความเร็วหรือการเดินทางไกลด้วย)
4.2 เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจากไม่เกิน 3,000รอบเป็นไม่เกิน 3,500รอบ(รอบต่ำลดเกียร์ราว 1,500-1,200รอบ)
4.3 เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 100 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 120 กม/ชม.
5. ที่ระยะ1,501-3,000 กิโลเมตร
5.1 ขับขี่ตามปกติตามสะดวกแต่ก็ควรรักษาการปฏิบัติแบบเดิมในเรื่องความนุ่มนวลของการออกตัว-การเร่ง-การเบรค(ถ้าสามารถทำได้)
5.2 เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจากไม่เกิน 3,500รอบเป็นไม่เกิน 4,000รอบ(รอบต่ำลดเกียร์ราว 2,000-1,200รอบ)
5.3 เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 120 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 140 กม/ชม.
5.4 เมื่อถึงระยะ 3,000กิโลเมตรหรือไม่เกิน3 เดือนทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง
6. ที่ระยะ3,001-5,000 กิโลเมตร
6.1 ขับขี่ตามปกติตามสะดวกแต่ก็ควรรักษาการปฏิบัติแบบเดิมในเรื่องความนุ่มนวล ของการออกตัว-การเร่ง-การเบรค (ถ้าสามารถทำได้เพราะจะเป็นการฝึกนิสัยการขับขี่ที่ดีอย่างถาวรไปในตัว)
6.2 เพิ่มการควบคุมรอบสูงขึ้นจากไม่เกิน 4,000รอบเป็นไม่เกิน 4,500รอบ(รอบต่ำลดเกียร์ราว 2,000-1,200รอบ)
6.3 เพิ่มการควบคุมความเร็วสูงสุดขึ้นจากไม่เกิน 140 กม/ชม.เป็นไม่เกิน 160 กม/ชม.
6.4 เมื่อถึงระยะ 5,000กิโลเมตรหรือนานสุดไม่ควรเกิน6 เดือนทำการเปลี่ยนน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรอง
7. ที่ระยะ5,001-10,000 กิโลเมตร
7.1 ขับขี่ตามปกติตามสะดวก
7.2 ไม่จำกัดรอบเครื่องสูงสุดเอาแค่ไม่เกินขีดแดงก็พอ รอบต่ำลดเกียร์ก็ตามสะดวก
7.3 ไม่จำกัดความเร็วสูงสุดจะเอาแบบสุดเข็มไมล์หรือสุดคันเร่งก็ไม่ว่ากัน
7.4 เมื่อถึงระยะ 10,000กิโลเมตรหรือนานสุดไม่ควรเกิน12 เดือนทำการเปลี่ยนของเหลวที่มีในรถทั้งหมดทั้งมันเครื่อง
พร้อมไส้กรอง-น้ำมันเกียร์(พร้อมกรอง)-น้ำมันคลัทช์(ถ้ามี)-น้ำมันเฟืองท้าย(ถ้ามี)-น้ำมันเบรค-น้ำหล่อเย็น-น้ำมัน
พวงมาลัย(ถ้ามี)
8. เกิน 10,000 กิโลเมตรขึ้นไป
8.1 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องพร้อมไส้กรองทุกๆ 10,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 6 เดือน
8.2 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์(ธรรมดา)พร้อมไส้กรอง(ถ้ามี)ทุกๆ 40,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 2 ปี
8.3 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์(ออโต้)พร้อมไส้กรอง(ถ้ามี)ทุกๆ 20,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 1 ปี
8.4 เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค-น้ำหล่อเย็นและน้ำมันคลัทช์(ถ้ามี)ทุกๆ 40,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 2 ปี
8.5เปลี่ยนถ่ายน้ำมันพวงมาลัย(ถ้ามี)ทุกๆ 60,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 4 ปี
8.6เปลี่ยนหัวเทียน(ถ้ามี)-กรองอากาศและกรองเชื้อเพลิงทุกๆ40,000 กิโลเมตรหรือทุกๆ 2 ปี
8.7เปลี่ยนแบตเตอรี่ทุกๆ 2ปี
8.8เปลี่ยนสายพานทุกเส้นพร้อมตัวตั้งความตึง(ถ้ามี)ทุกๆ 4ปีหรือไม่เกิน 80,000-100,000กิโลเมตร
8.9ปรับตั้งระยะของวาล์วหรือถอดชุดปรับตั้งวาล์วอัตโนมัติออกทำความสะอาดทุกๆ 2ปีหรือ 20,000กิโลเมตรแต่ต้องไม่เกิน40,000กิโลเมตร
อาจ จะมีหลายท่านแย้งว่าศูนย์บริการทุกวันนี้เขาเปลี่ยนครั้งแรกที่ 10,000โลเลยเพราะเครื่องยนต์ที่ทนทานกว่าแต่ก่อน และทันสมัยขึ้น แต่อย่าลืมว่าน้ำมันที่เขาใส่ให้คุณนั้นตามศูนย์บริการนั้นมาจากถัง200ลิตร แล้วเปิดถังตั้งแต่มื่อไหร่
ความชื้นเข้าไปเท่าไหร่แล้วกว่าจะถึงคิวเติมรถของท่านครับ..
จบเรื่องรถใหม่ป้ายแดงแล้ว ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับรถคันใหม่นะครับ
***จำ ไว้ว่าตราบใดที่เงินยังอยู่ในกระเป๋าเรา เราจะกลายเป็นพระเจ้า แต่ถ้ามันปลิวไปอยู่กับเขาแล้วบางยี่ห้อ พระเจ้าจะกลายเป็นขอทานครับ****
ตัวแทนประกันภัยแบบไหน ที่ลูกค้าคาดหวัง
หาก แต่ในปัจจุบัน ตัวแทนบางส่วนยังมิได้ทำหน้าที่ขายเหมือนหนึ่งมืออาชีพจริงๆ กล่าวคือทำงานเพื่อผลประโยชน์ตอบแทนในรูปเม็ดเงิน มากกว่าการสร้างผลงานขายที่มีคุณภาพ จนในบางรายถึงกับละเลยหลักจรรยายบรรณด้านการขายและหลักคุณธรรมในการประกอบ อาชีพ ขอเพียงแต่ได้ยอดขายซึ่งหมายถึงค่าบำเหน็จ (Commission) ที่จะได้โดยไม่ตระหนักถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในอนาคตกับลูกค้า ทำให้ผู้บริโภคบางส่วนต้องเป็นผู้รับผลแห่งการกระทำของตัวแทนขายด้วยความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ ส่งผลให้ความเชื่อถือที่สังคมมีต่อธุรกิจประกันภัย มีไม่เพียงพอที่จะเลือกใช้บริการของธุรกิจนี้ ในการสร้างความมั่นคงและปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในปัจจุบัน สภาพการแข่งขันในธุรกิจประกันภัยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น มีการลงทุนจากกิจการต่างชาติ ทำให้มีการพัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นมีต้นทุนน้อยลง มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้วยการนำระบบ IT (Information Technology) มาปรับใช้เพื่อให้เกิดความสะดวกและรวดเร็วในระบบการทำงานของตัวแทนขายของ บริษัททั้งหลาย เป็นการเน้นการพัฒนาทางด้านวัตถุ แต่การพัฒนาทางด้านจิตใจของตัวแทนขายได้มีการดำเนินการมากน้อยหรือไม่เพียง ใด เพราะธุรกิจประกันภัยจะดำเนินอยู่ได้บนพื้นฐานของความเชื่อมั่น และความไว้วางใจจากผู้บริโภคเป็นสำคัญ และบุคคลที่จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นดังกล่าวได้ดีที่สุดในปัจจุบัน ก็คือตัวแทนขายผู้สัมผัสผู้บริโภคโดยตรง
ดังนั้นในฐานะของผู้บริโภค คนหนึ่ง ใครขอเสนอแนวคิดให้ท่านทั้งหลายที่เป็นตัวแทนขายประกัน ได้พิจารณาเกี่ยวกับการพัฒนาตน ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้บริโภค ที่ต้องการตัวแทนขายที่มีคุณภาพ ด้วยหลักการง่าย ๆ ของการสร้างตนให้แลดู SMART ดังนี้
1) S = Sincerity (ความจริงใจ)
ตัว แทนขายประกันควรต้องมีความจริงใจที่จะเสนอสินค้าและบริการที่มีคุณค่าสอด คล้องกับความต้องการและศักยภาพของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด จากการซื้อประกันเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เสียไปเพราะโดยหลักการขายที่ดี นั้น
นักขายที่มีคุณภาพต้องสามารถทำให้ผู้ซื้อได้รับความพึงพอใจสูงสุด จากการบริโภคสินค้าและบริการที่ตนขายให้ โดยเฉพาะสินค้าประกันภัยนั้น จะมีลักษณะที่ไม่มีตัวตนสามารถจับต้องได้เช่น สินค้าทั่วไป แต่เป็นการให้ความคุ้มครองความเสี่ยงภัยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในรูปของสัญญาซึ่งเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญ ทั้งนี้เนื่องจากวิถีการดำรงชีวิตของคนไทยแต่ในอดีตนั้น มีรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่มีแบบแผนที่ซับซ้อน จึงไม่จำเป็นต้องตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต และไม่มีการวางแผนรองรับไว้ล่วงหน้า และแม้ว่าในปัจจุบันวิถีชีวิตดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสการเปลี่ยน แปลงของโลก ซึ่งนับวันจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงมิได้ตระหนักถึงความเสี่ยงภัยภายใต้กระแสการเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้น ดังนั้นเมื่อถึงคราวที่ต้องซื้อประกันจะด้วยเหตุใดก็ตาม ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็จะไม่ศึกษารายละเอียดของเงื่อนไขสัญญาที่ปรากฏใน กรมธรรม์ และไม่พยายามจะทำความเข้าใจด้วย จึงเป็นหน้าที่ของตัวแทนขายที่จะแสดงความจริงใจต่อลูกค้า ด้วยการวิเคราะห์ความเสี่ยงภัยขั้นพื้นฐานของลูกค้า เป้าหมาย และเสนอขายความคุ้มครองที่สอดคล้องกับสภาพภัยดังกล่าว โดยต้องพิจารณาถึงศักยภาพในการชำระเบี้ยประกันของลูกค้าด้วยเพื่อมิให้ ลูกค้าต้องเสียประโยชน์ หากไม่สามารถชำระเบี้ยประกันภัยได้อย่างต่อเนื่องตลอดอายุสัญญา เพียงเท่านี้ท่านตัวแทนขายก็จะเป็นสุข ที่ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าของท่าน
2) M = Meaning (ความหมาย)
ตัว แทนขายประกันต้องเข้าใจความหมายของการประกันภัยได้อย่างถูกต้องและลึกซึ้ง เพียงพอที่จะไปเสนอขายให้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เนื่องด้วยลักษณะสินค้าประกันภัยและพฤติกรรมผู้บริโภคไทย โดยทั่วไปไม่เอื้อต่อการซื้อประกัน ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ตัวแทนขายต้องศึกษาและทำความรู้จักกับการประกันภัย โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความเสี่ยงภัย ความคุ้มครองในรูปแบบต่าง ๆ เงื่อนไขทั่วไปและข้อยกเว้นความรับผิดชอบของบริษัทประกันภัย รวมทั้งวิธีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่รวดเร็ว และข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแนะนำลูกค้าเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง มิใช่เพียงแค่เรียนรู้ถึงเทคนิคและบริการแต่อย่างใด ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้วก็คงจะไม่สามารถเป็นนักขายที่ดีได้ เพราะจะไม่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้เลย แต่ในทางตรงกันข้ามจะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกไม่พอใจ เมื่อไม่ได้รับในสิ่งที่คาดหวัง ในคราวที่เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน อีกทั้งนักขายประกันที่ดี ต้องเข้าใจความหมายของการให้บริการที่สมบูรณ์แบบ ด้วยการติดตามดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทประกันภัยในปัจจุบันต่างก็เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร ด้านงานขายให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมที่จำเป็นให้ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่
(1) ความรู้ด้านการประกันภัย ศึกษาเกี่ยวกับหลักพื้นฐานด้านการประกันวินาศภัย การประกันชีวิต ประเภทความคุ้มครองในรูปกรมธรรม์แบบต่าง ๆ ลักษณะเงื่อนไขความคุ้มครอง ข้อยกเว้น และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(2) ความรู้ด้านการขายและการให้บริการลูกค้า ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการขาย กลยุทธ์ทางการตลาด การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
(3) ระบบการทำงานของบริษัท ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนต่าง ๆ ในการทำงานของบริษัท ระบบการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัท
ดัง นั้นตัวแทนขายจึงต้องมีความรู้พื้นฐานครบทั้ง 3 ส่วน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวคิดที่ถูกต้อง ในการประกอบวิชาชีพประกันภัย ให้เจริญก้าวหน้าด้วยการทำความเข้าใจในความหมายที่ชัดเจนของอาชีพ และวิธีการประกอบอาชีพตัวแทนขายประกันที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเป็น สำคัญ
3) A = Application (การประยุกต์ใช้)
เมื่อ ตัวแทนขายประกันมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสินค้าประกันภัยอย่างดีแล้ว ก็ต้องรู้จักนำมาประยุกต์ใช้ในการเลือกขายสินค้าให้สอดคล้องกับสภาพภัยและ ความต้องการของลูกค้า รวมทั้งศักยภาพในการชำระเบี้ยประกันของลูกค้าได้อย่างเหมาะสมเพราะกรมธรรม์ แต่ละแบบ ก็จะให้ความคุ้มครองและสภาพภัยที่ไม่เหมือนกัน ตัวแทนขายจึงต้องมีหน้าที่วิเคราะห์สภาพความเสี่ยงภัยขั้นพื้นฐาน ตามข้อมูลจริงที่ได้รับทราบ เพื่อชี้แนะให้ลูกค้าพิจารณาเลือกประเภทและระดับความคุ้มครองที่เหมาะสม และสำหรับลูกค้าที่มีข้อจำกัดทางด้านเศรษฐกิจ ก็อาจต้องช่วยลูกค้าพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องทุนประกันเพื่อความสามารถในการ ชำระค่าเบี้ยประกันภัยได้อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจประกันภัยมีสูงมาก ทำให้บริษัทประกันภัยทั้งหลาย พยายามใช้กลยุทธ์ด้านตัวสินค้าด้วยการปรับรูปแบบกรมธรรม์ให้มีความหลากหลาย ขึ้น ซึ่งแม้ว่าภาครัฐจะคอยดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด กรมธรรม์ต่าง ๆ ที่ออกสู่ตลาดของบริษัทประกันภัยก็จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนทั้งในรูปดอกเบี้ยและความคุ้มครอง ซึ่งตัวแทนขายก็จะใช้จุดเด่นดังกล่าวโน้มน้าวจูงใจให้ลูกค้าเป้าหมายสนใจ ซื้อ โดยมิได้ชี้แนะให้ลูกค้าทำความเข้าใจในรายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อซึ่ง เป็นเรื่องที่ขัดต่อหลักการขายที่ดี
4) R = Realization (การตระหนัก)
ตัว แทนขายประกันต้องตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับเป็นสำคัญ กล่าวคือ การซื้อประกันภัยเปรียบเหมือนการลงทุนในวันนี้ เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยในอนาคต ดังนั้นการที่ตัวแทนขายได้รับเบี้ยประกันจากลูกค้าในวันนี้ ย่อมต้องมีจิตสำนึกถึงการให้บริการที่ต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดอายุสัญญา ประกัน เพราะว่าไปแล้วการซื้อประกันก็เป็นการซื้อบริการที่ต้องจ่ายล่วงหน้า ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อผู้บริโภคจ่ายเงินแล้วก็ต้องมีความคาดหวังในบริการที่จะได้รับ และหากสิ่งที่ได้รับในอนาคต มิใช่สิ่งเดียวกับที่คาดหวังในปัจจุบัน ผู้บริโภคก็จะไม่เชื่อถือและไว้วางใจในระบบประกันภัยอีกต่อไป ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติกรรมในการขายของตัวแทนขาย ซึ่งเป็นผู้ที่ติดต่อโดยตรงกับลูกค้าในนามของบริษัทประกันภัยจึงเป็นผู้ที่ ลูกค้าสามารถสัมผัสได้ว่าสมควรจะซื้อประกันภัยต่อไปอีกหรือไม่ อีกทั้งตัวแทนขายประกัน ต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบในการกระทำของตนที่ได้ปฏิบัติต่อลูกค้า กล่าวคือ ตัวแทนขายถือได้ว่าเป็นตัวแทนของบริษัทประกันภัย ดังนั้นการกระทำของตัวแทนขายซึ่งกระทำไปตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทประกันภัย ได้กำหนดไว้นั้น ย่อมมีผลผูกพันบริษัทประกันภัยหรือไม่อย่างไร เพราะตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 มาตรา 4 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ตัวแทนประกันวินาศภัย" หมายถึง ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท และตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 มาตรา 5 ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "ตัวแทนประกันชีวิต" หมายถึง ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันชีวิตกับบริษัท ซึ่งในทางปฏิบัติหากตัวแทนขายพยายามชักจูงทุกวิถีทาง ที่จะให้มีผู้เอาประกันภัยแม้ในรายที่มีความเสี่ยงสูง และหากบริษัทประกันภัยทราบ ก็จะไม่ยอมเข้าทำสัญญาประกันด้วยหรือต้องเรียกร้องเบี้ยประกันสูงก็ตาม ทางตัวแทนขายก็จะแนะนำให้ผู้เอาประกันทำสัญญาประกัน โดยกรอกข้อความที่ขัดต่อข้อเท็จจริง ครั้นเมื่อถึงเวลาเรียกค่าสินไหมทดแทน ก็จะเกิดปัญหาขึ้นกับผู้เอาประกันว่าสามารถที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนเต็ม ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาประกันหรือไม่อย่างไร ซึ่งกรณีดังกล่าวนี้ มักจะพบได้ในการทำประกันชีวิต ซึ่งตัวแทนขายทราบว่าผู้เอาประกันเป็นโรคร้ายแรงและรักษาไม่หายแต่ก็ยังชี้ แนะให้ซื้อประกันชีวิต ด้วยการปกปิดข้อเท็จจริง โดยไม่กรอกข้อความในคำขอเอาประกันว่าตนเป็นโรคร้ายแรง ดังนั้นหากตัวแทนขายมีจิตสำนึกที่ตระหนักถึงความรับผิดชอบในการกระทำของตน ที่มีต่อลูกค้าอย่างสมบูรณ์ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นก็จะไม่เกิดขึ้น และตัวแทนขายก็จะเกิดความภาคภูมิใจที่ได้เห็นว่าลูกค้าได้รับค่าสินไหมทดแทน ตามจำนวนที่ควรจะเป็น เพื่อใช้บรรเทาความเดือดร้อนในยามที่เกิดภัยพิบัติแก่ชีวิต บนพื้นฐานของความเป็นธรรมที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย
5) T = Timing (การเลือกจังหวะเวลา)
ตัว แทนขายประกันต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการสร้างความพึง พอใจให้เกิดแก่ลูกค้านั้น มิใช่เวลาที่ชักชวนให้ลูกค้าซื้อประกันได้สำเร็จ หากแต่เป็นช่วงเวลาที่ลูกค้าได้รับความพอใจจากการให้บริการ ในเรื่องของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เพราะตัวแทนขายต้องทำความเข้าใจให้ดีว่า ผู้บริโภคทุกคนที่ตัดสินใจซื้อประกัน ซึ่งเป็นการจ่ายเงินซื้อบริการล่วงหน้านั้น ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่า หากเกิดภัยพิบัติขึ้นกับชีวิตเมื่อใด ก็จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกัน เพื่อนำมาบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น ฉะนั้นหากเมื่อถึงเวลาที่เดือดร้อนแล้ว ไม่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทน ในจำนวนและเวลาที่ควรจะเป็น ย่อมนำมาซึ่งความทุกข์และความปวดร้าวยิ่งนัก โดยเฉพาะการประกันสุขภาพซึ่งในปัจจุบันคนไทยเริ่มมีค่านิยมในการดูแลรักษา สุขภาพมากขึ้น จึงได้เห็นความสำคัญของการทำประกันสุขภาพ เพราะอย่างน้อยเมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้นก็ยังมีศักยภาพในการดูแลรักษา ตนเอง จากเงินที่ได้ทำประกันไว้ ฉะนั้นตัวแทนขายจึงต้องอาศัยช่วงจังหวะเวลาดังกล่าว แสดงความจริงใจ ความรับผิดชอบ และการตระหนักถึงความสำคัญของลูกค้า ด้วยการจัดการเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็วและยุติธรรม เพื่อตอบสนองที่ลูกค้าได้ให้ความไว้วางใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของท่าน ในฐานะตัวแทนผู้ดูแลจัดการความเสี่ยงภัยให้กับเขาเหล่านั้น
กลยุทธย์ในการเลือกซื้อประกันภัย
เลือกซื้อประกันภัยสำหรับทรัพย์สินหรืออุบัติเหตุที่จะมีความเสียหายมูลค่าสูงและจะทำให้คุณเดือดร้อนเท่านั้น เช่น บ้าน รถยนต์ การรักษาพยาบาล ฯลฯ
ตรวจดูความคุ้มครองให้แน่ใจว่าเหมาะสมตามที่คุณต้องการ และครอบคลุมสิทธิประโยชน์มากที่สุดในอัตราเบี้ยที่เท่ากัน
จ่ายค่าเสียหายส่วนแรก หรือ Deductible (ถ้ามี) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะคุณจะสามารถประหยัดเบี้ยประกันภัยที่ คุณจะ ต้องจ่ายลงตามจำนวนค่าเสียหายส่วนแรก เช่น เบี้ยประกันภัยรถยนต์ มูลค่า 25,000 บาท หากระบุค่าเสียหายส่วนแรกเท่ากับ 5,000 บาท เบี้ยประกันภัยสุทธิจะเหลือ 20,000 บาทเท่านั้น ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแล้วคุณเป็นฝ่ายผิด คุณจะต้องชดเชยค่าเสียหายเอง ตามจริงแต่ไม่เกิน 5,000 บาทโดยส่วนที่เหลือบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบเอง หากคุณระมัดระวังดีตลอดทั้งปี ค่าใช้จ่ายนี้ก็จะไม่เกิดขึ้น เท่ากับว่าคุณสามารถซื้อประกันภัยได้ถูกลงไปโดยปริยาย
ดูให้แน่ใจว่าความคุ้มครองที่คุณได้รับไม่มีความซ้ำซ้อนกันในกรณีที่คุณทำประกันภัยไว้หลายแห่ง
ข้อแตกต่างระหว่างตัวแทนกับนายหน้า
เมื่อดูตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2510 มาตรา 4 "ตัวแทน" หมายถึง ผู้ซึ่งบริษัทมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคล ทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ส่วน "นายหน้า" หมายถึงผู้ซึ่งชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทโดยหวัง บำเหน็จเนื่องจากการนั้น จากคำจำกัดความข้างต้นทำให้ทราบว่าข้อแตกต่างระหว่าง"ตัวแทน" และ "นายหน้า" คือ
"นายหน้า" เป็นบุคคลที่ไม่อยู่ในการควบคุมของบริษัทผู้รับประกันภัย การทำงานของนายหน้าเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ของตนโดยอิสระ (Professional Broker) ตามปกติจะไม่ทำแทนผู้รับประกันภัยและไม่ได้รับมอบหมายจากผู้รับประกันภัยให้ กระทำการใดหรือไม่กระทำการใด สำหรับ "ตัวแทน"เป็นการทำงานในหน้าที่ และได้รับมอบหมายให้ทำแทนผู้รับประกันภัย
การทำงานของ "นายหน้า" เป็นการทำเพื่อหวังบำเหน็จ ซึ่งจะได้จากการชี้ช่องหรือจัดการให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท ด้วยทุนทรัพย์ ์หรือค่าใช้จ่ายของตนเอง แต่การทำงานของ "ตัวแทน" เป็นการกระทำด้วยทุนทรัพย์ และค่าใช้จ่ายของตัวการทั้งสิ้น แม้ว่าบางครั้งจะได้รับค่าตอบแทนจากตัวการก็ตาม
"นายหน้า" เป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ช่อง (หมายถึง แนะนำ หาช่องทางให้ผู้เอาประกันภัยทำสัญญากับผู้รับประกันภัยจนสำเร็จ)หรือจัดการ ให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัท (หมายถึง กระทำใด ๆ อันเหมาะสมและจำเป็นเพื่อให้การทำสัญญากับผู้รับประกันภัยสำเร็จลุล่วงไป ด้วยดี ซึ่งรวมถึงการเจรจาต่อรองเงื่อนไขหรือข้อคุ้มครองต่าง ๆและการตกลงจำนวนเบี้ยประกันภัยกับผู้รับประกันภัยด้วย) ส่วน "ตัวแทน" มีหน้าที่เฉพาะการชักชวน ให้บุคคลเข้าทำสัญญาประกันภัยกับผู้รับประกันภัยเท่านั้น ไม่มีสิทธิ์เข้าทำสัญญาประกันภัยแทนผู้รับประกันภัยแต่อย่างใด เว้นแต่จะได้รับมอบอำนาจเป็นหนังสือจากผู้รับประกันภัย
รวมเบอร์โทรศัพท์ของบริษัทประกันภัยรถยนต์
ชื่อบริษัท/COMPANIES | สำนักงานใหญ่/HEAD OFFICE | |
บริษัท กมลประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 361 ถ.บอนด์สตรีท เมืองทองธานี 3 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร.: 0-2502-2999 โทรสาร : 0-2502-2933 | |
| 25 ถนนสาธรใต้ ข.ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. : 0-2285-8888, 0-2677-3777 โทรสาร : 0-2677-3737-8 | |
บริษัท คูเนีย ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด | 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 39 ถนนสาทรใต้ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. : 0-2670-2100 โทรสาร : 0-2670-2135-7 | |
บริษัท เจ้าพระยาประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 3675 อาคารกรุงไทยแทรคเตอร์ ชั้น 4 - 5 ถนนพระราม 4 ข.พระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. : 0-2261-9955, 0-2661-3355 โทรสาร : 0-2261-3775 | |
บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 63/2 ถนนพระราม 9 ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 โทร. : 0-2248-0059 โทรสาร : 0-2248-7849 - 50. | |
บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 97 และ 99 อาคารเทเวศประกันภัย ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. : 0-2670-4444 โทรสาร : 0-2629-1080 | |
บริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) | 26/5-6 ชั้น 1, 26/10-11 ชั้น 4, 26/16-17 ชั้น 6, และ 26/18-19 ชั้น 6 อาคารอรกานต์ ข.ลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. : 0-2254-8490, 0-2254-7850-9 โทรสาร : 0-2253-3701, 0-2253-4222 | |
บริษัท ประกันภัยศรีเมือง จำกัด | 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 40 ถนนสาทรใต้ ข.ยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. : 0-2686-8888-9 โทรสาร : 0-2686-8601-2 | |
บริษัท ฟีนิกซ์ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด | 4-4/1อา คารชโลบล ซ.พระรามเก้า 43 ถ.เสรี 4 แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 โทร. : 0-2720-1400-4, 0-2718-3748-9, 0-2718-3944-5 โทรสาร : 0-2720-1128-29 | |
บริษัท ภัทรประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 252 ถนนรัชดาภิเษก ข.ห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 โทร. : 0-2290-3333 โทรสาร : 0-2290-2033 | |
บริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด | 295 ถนนสี่พระยา ข.สี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. : 0-2236-0035, 0-2236-8635 - 8, 0-2237-4646 โทรสาร : 0-2652-2870-2 | |
บริษัท ไอเอจี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (ชื่อเดิม : บริษัท โรยัลแอนด์ซันอัลลายแอนซ์ประกันภัย จำกัด) | 1550 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ข.ถนนเพชรบุรี เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10310 โทร. : 0-2207-0266 - 85 โทรสาร : 0-2207-0575 | |
บริษัท ลิเบอร์ตี้ประกันภัย จำกัด | 1466 ถนนพัฒนาการ ข.สวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250 โทร. : 0-2322-3001 - 49 โทรสาร : 0-2321-7332 | |
บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด | 1242 ถนนกรุงเกษม ข.คลองมหานาค เขตป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. : 0-2223-0851, 0-2225-0137, 0-2224-0059 โทรสาร : 0-2224-9876 | |
บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด | 42 ถนนสุรวงศ์ ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. : 0-2235-2510 - 9, 0-2267-0240 - 9 โทรสาร : 0-2237-0808, 0-2267-0259 | |
บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) (ชื่อเดิม : บริษัท สามัคคีประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 2/4 อาคารไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย ชั้น 12 อาคารนอร์ธปาร์ค ข.ทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. : 0-2555-9100 โทรสาร : 0-2955-0150 - 1 | |
บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) | 313 ถนนศรีนครินทร์ ข.หัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240 โทร. : 0-2378-7000 โทรสาร : 0-2731-6590 โทรสาร : 0-2541-5170 | |
บริษัท อลิอันช์ ซี.พี. ประกันภัย จำกัด | 313 อาคารซี.พี.ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนสีลม ข.สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. : 0-2638-9000 โทรสาร : 0-2638-9050 | |
บริษัท เอ ไอ จี ประกันวินาศภัย (ประเทศไทย) จำกัด | 181/19 ถนนสุรวงศ์ ข.สุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. : 0-2634-8888 โทรสาร : 0-2236-6489 | |
บริษัท เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท อวีว่า ประกันภัย (ไทย) จำกัด) | 908 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ข.บางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320 โทร. : 0-2318-8318, 0-2319-1199 โทรสาร : 0-2318-8550, 0-2319-1166 | |
บริษัท อาคเนย์ประกันภัย (2000) จำกัด | 315 ชั้น G - ชั้น 3 อาคารอาคเนย์ประกันภัย ถนนสีลม ข.บางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 โทร. : 0-2631-1331, 0-2267-7777 โทรสาร : 0-2237-7409 | |
บริษัท เอเซียประกันภัย 1950 จำกัด | 183 อาคารรีเจ้นท์เฮ้าส์ ชั้น 12 ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 โทร. : 0-2254-9977 โทรสาร : 0-2250-5277 | |
บริษัท เอราวัณประกันภัย จำกัด | 292 ถนนเยาวราช ข.สัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100 โทร. : 0-2224-0056, 0-2224-4727 - 36 โทรสาร : 0-2221-1390 | |
บริษัท แอ๊ดวานซ์ อินชัวรันส์ จำกัด | 2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 5 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. : 0-2648-3800 โทรสาร : 0-2648-3830 | |
บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด | 2 อาคารจัสมินซิตี้ ชั้นที่ 14-15,17 ซ.สุขุมวิท 23(ประสานมิตร) ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110 โทร. : 0-2661-6000 โทรสาร : 0-2665-2728 | |
บริษัท ไอโออิ กรุงเทพ ประกันภัย จำกัด | 25 อาคารกรุงเทพประกันภัย / YWCA ชั้น 22 ถนนสาทรใต้ ข.ทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. : 0-2677-3999, 0-2620-8000 โทรสาร : 0-2677-3978-79 |
ถาม - ตอบเกี่ยวกับบริการรถยนต์พลังน้ำ
1. ไฮโดรเจนคืออะไร
ตอบ น้ำที่เราใช้ดี่ม ใช้ชำระร่างกาย และนานาประโยชน์ มีองค์ประกอบอยู่ในรูป H2 O กล่าวคือ ไฮโดรเจน 2 ส่วน และออกซิเจน O1 ส่วน เราใช้ไฟฟ้าและสารเคมี เป็นตัวทำปฏิกิริยา แยกเอาเฉพาะก๊าซไฮโดรเจน ออกมาเป็นเชื้อเพลิง
2. ก๊าซไฮโดรเจนนี้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วม กับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงหลัก อะไรได้บ้าง
ตอบ ใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วม กับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงหลัก เช่น เบนซิน ดีเชล แก๊ส LPG NGV
3. ใช้กับรถยนต์ที่เป็นรุ่นหัวฉีด คอมมอนด์เรล คาบูเรเตอร์ หรือ เครื่องเจได้ไหม
ตอบ ใช้ ได้ เพราะก๊าซไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงที่มีค่าออกเทนสูงกว่า น้ำมันเบนซิน ดีเซล และแก๊ส NGV LPG ทำให้การจุดระเบิดในห้องเครื่องยนต์ดีกว่า สันดาปสมบูรณ์ ส่งผลให้อัตราเร่งดีขึ้น เครื่องยนต์สะอาด ไม่เป็นมลภาวะต่อสิ่งมีชีวิตและโลก
4. ถ้านำไปติดตั้งกับเครื่องยนต์ขนาด 3000 cc.ขึ้นไป หรือนำไปติดตั้งกับ เรือ รถบรรทุกหัวลาก รถไถนา รถสิบล้อ หรือ รถทัวร์ได้หรือไม่
ตอบ สามารถติดตั้งได้
5. ติดตั้งใช้แล้วจะมีผลกระทบอะไรกับเครื่องยนต์หรือไม่
ตอบ ไม่มีผลใด ๆ ต่อเครื่องยนต์ เพราะเป็นเชื้อเพลิงเช่นเดียวกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้อยู่ แถมไฮโดรเจนค่าออกเทนสูงกว่า
6. การติดตั้งต้องมีการเจาะ ตัด ดัดแปลง หรือ ปลี่ยนเครื่อง เปลี่ยนชิ้นส่วนของรถยนต์เดิมๆ หรือไม่
ตอบ ไม่มีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับชิ้นส่วนเดิมของเครื่องยนต์แม้แต่อย่างเดียว เรานำก๊าซไฮโดรเจนเข้าทางท่อไอดี
( ท่อดูดอากาศของรถยนต์ ) เพื่อให้เครื่องยนต์ดูดเอาก๊าซไปใช้เป็นพลังงานร่วมกับเชื้อเพลิงหลักเดิมของรถยนต์ที่ใช้อยู่แล้ว
7. กรณีรถชนกัน จะเกิดการระเบิดได้หรือไม่
ตอบ ไม่เกิดการระเบิด เพราะเมื่อเครื่องสร้างก๊าซให้เกิดขึ้นแล้ว เครื่องยนต์จะดูดไปใช้เลย ไม่มีการสะสม หรือเก็บไว้ในถังเหมือนกับแก๊ส NGV หรือ LPG
8. ติดตั้งเครื่อง รถใช้น้ำ แล้วดีอย่างไร
ตอบ ใช้ไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงร่วม กับเชื้อเพลิงหลักเดิม ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิงสูงสุด - 60% ( ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่องยนต์ ) ช่วยลดภาวะโลกร้อน เครี่องยนต์มีแรงม้าเพิ่มขึ้น อัตราเร่งดีขึ้นประมาณ 30% ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าและช่วยประเทศชาติประหยัด
9.ถ้าใช้เป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อการสึกของเครื่องยนต์หรือไม่ ถ้ามีจะเป็นอย่างไร
ตอบ ไม่มีผลกระทบ เพราะเราใช้ก๊าซไฮโดรเจน เป็นเชื้อเพลิงร่วม และปริมาณที่ใช้ในการร่วม เรากำหนดไว้ไม่เกิน 75 %
10. อายุการใช้งานนานเท่าไหร่
ตอบ ไม่ต่ำกว่า 10 ปี เพราะเครื่องสร้างก๊าซไฮโดรเจน ผลิตจากเหล็กสแตนเลส อย่างดีที่ทนความร้อนและ ป้องกันการเกิดสนิม
11. ใช้พลังงานไฟจากแบตเตอร์รี่ในการทำงานเท่าไหร่
ตอบ สูงสุดไม่เกิน 30 แอมป์
12. มีผลต่ออายุการใช้งานของ Battery (แบตเตอรี่) หรือไม่
ตอบ ไม่มีผลเพราะระบบเพราะ Hydrogen Gernerator ของเรามีระบบ Power Control ที่ควบคุมระบบการจ่ายไฟ
จึ่งทำให้หมดปัญหาเรื่องแบตเตอรี่เสื่อม
13. สามารถใช้กับรถที่ติดตั้งแก๊ส NGV หรือ LPG ได้หรือไม่
ตอบ รถ ยนต์ที่ใช้แก๊ส NGV หรือ LPG เป็นเชื้อเพลิงหลัก สามารถนำก๊าซไฮโดรเจนไปเป็นเชื้อเพลิงร่วมได้ ช่วยให้แรงม้า เครื่องยนต์เพิ่ม อัตราการเร่ง การออกตัวดีขึ้น 30 % การเผาไฟไหม้ของห้องเครื่องยนต์สมบูรณ์ ยืดอายุการใช้งานของ เครื่องยนต์ ได้นานขึ้น และช่วยประหยัดเงินในการซื้อแก๊สเติม โดยการปรับอัตราส่วนผสมลดลง เพราะน้ำไม่มีต้นทุน ใช้น้ำบ่อน้ำตามแหล่งธรรมชาติได้ทุกอย่าง ไม่ต้องซื้อหา
14. บริษัทประกันภัยจะรับเคลมหรือไม่
ตอบ รับแคลมเพราะเราใช้ก๊าซไฮโดรเจน เป็นเชื่อเพลิงร่วม ไม่มีการดัดแปลงเครื่องยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องยนต์แต่อย่างใด
15. ต้องเติมน้ำบ่อยหรือไม่
ตอบ ไม่บ่อย 1 ลิตรวิ่งได้ประมาณ 400-600 กม. ถ้าน้ำจะหมดหรือสกปรก Senser ร้องเตือนให้ทำการตรวจสอบทันที
16. ไฮโดรเจนจะระเบิดได้ไหม
ตอบ สามารถระเบิดได้ในกรณีที่เก็บไว้ในถังที่มีอุณหภูมิสูง แต่ระบบ Hydrogen Generator ของเราเป็นเครื่องผลิต ไม่ใช่ถังเก็บ และเครื่องจะผลิตเมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ระดับที่ 900 รอบ/นาทีขึ้นไป เพราะฉะนั้นปัญหาการระเบิด
จึงมีเปอร์เซนต์น้อยมาก
17. ต้องเสียภาษีเพิ่มหรือแจ้งกับกรมการขนส่งหรือไม่
ตอบ ไม่ต้องแจ้งเพราะระบบที่เราไปติดตั้งให้ลูกค้า เราไม่มีการดัดแปลงเครื่องยนต์ หรือมีถังเพื่อเก็บแบบแก๊ส
ซึ่งจะต้องแจ้งและลงทะเบียนกับขนส่ง แต่อุปกรณ์ที่เราติดเป็นเครื่องผลิตไฮโดรเจนขนาดเล็ก ๆ ที่ต่อเข้ากับระบบ
รถยนต์ และบริษัทได้ติดต่อเรื่องนี้กับกรมการขนส่งแล้ว
18. ใช้กับหม้อแปลงปั่นไฟได้หรือไม่
ตอบ สามารถใช้ได้
19. สามารถใช้ไฮโดรเจน 100 % โดยไม่ต้องใช้ร่วมกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้หรือไม่
ตอบ ขั้นตอนนี้บริษัทอยู่ในระหว่างการทดสอบ และพบปัญหาบางประการที่การทดสอบ 4 หมื่นกว่ากิโล แต่คิดว่าอนาคตอันใกล้นี้ จะสามารถใช้ได้แน่นอน
20. การทดสอบบริษัทใช้การทดสอบอย่างไรเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน
ตอบ บริษัทได้ทำการทดสอบทั้งในห้องทดลองและทดสอบกับรถโดยทดลองวิ่งในระยะทางเดียวกันและสภาวะเดียวกัน
21. เวลาผลิตไฮโดรเจนเครื่องร้อนมาก มีวิธีการป้องกันอย่างไร
ตอบ ระบบ Hydrogen Generator มีระบบระบายความร้อนโดยพัดลมและควบคุมโดยระบบ Cpu เมื่อเครื่องร้อนมาก ๆ ระบบจะตัดการทำงานทันที และเมื่อสถานะกลับสู่สภาวะปกติระบบจะเริ่มทำงานต่อ
เทคนิคการซื้อประกันภัยรถยนต์
หลายคนคงเคย มีประสบการณ์ประเภทวันไม่ชื่น คืนก็ทุกข์กับบริษัทประกันที่เคยตั้งใจคิดอยากจะฝากผีฝากไข้ในยามที่เกิด เหตุ ที่ไม่พึงประสงค์กับรถคันโปรด แต่พอถึงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นมา จริงๆ กลับต้องปวดหัวหนักขึ้นไปอีก เพราะเจอกับการเล่นแง่ของ เจ้าหน้าที่ที่ดูเหมือนเป็นศัตรูฝ่ายตรงข้ามกับเรามากกว่าคู่กรณีที่ เกิดเรื่องกับเราเสียอีก หรือบางครั้งก็อาจจะเจอกับการให้บริการ จากเจ้าหน้าที่ที่รับแจ้งแบบไม่แยแสทั้งๆ ที่เราร้อนใจจนแทบระเบิด เกิดเหตุตอนสิบโมงเช้า กว่าเจ้าหน้าที่จะมาถึงที่เกิดเหตุก็ปาเข้าไป หลังเที่ยงอย่างนี้มันน่าที่เราจะทำประกันด้วยดีไหมเนี่ย
ปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ที่มีรถหลายคนตัดสินใจไม่ถูกไม่รู้ว่าเราควรจะเลือก บริษัท ประกันไหนดี เวลาที่เราต้องการที่จะทำประกันรถ เพราะฉะนั้นในคอลัมน์นี้จึง อยากจะขอเสนอแนวคิดพร้อมทั้งเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่อยากจะฝากกันเอาไว้ เพื่อใช้ในการเลือกบริษัทประกันที่จะไม่ทำให้เรานั่งน้ำตาตกเสียใจในภายหลัง
ก่อนอื่นคงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การทำประกันโดยเนื้อแท้แล้วก็คือ การที่คนหลายๆ คน ตกลงเอาเงินมาลงขันกันเพื่อแชร์ความเสี่ยงร่วมกัน โดยมี บริษัทประกันเป็นโต้โผในการรวมเงิน รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขต่างๆ ในการ เรียกเก็บเงินที่เราเรียกว่าเบี้ยประกันของแต่ละคนด้วย
มีหลายบริษัทประกันที่มีข้อเสนอการทำประกันประเภทขับน้อยจ่ายน้อยสำหรับ ผู้ที่มั่นใจว่าตนเองใช้รถน้อย คุณที่อยากจะประหยัดเงินก็อาจจะขอทำประกันประเภทนี้ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันที่ไม่จำเป็น แต่สำหรับผู้ที่มีอาชีพ บางประเภท เช่น ดารา นักร้อง ที่ต้องเดินทางบ่อยๆ ประกันประเภทนี้ก็คงใช้ ไม่ได้สัจธรรมข้อหนึ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ ในการแข่งขันในตลาดที่มีผู้ประกอบ การหลายเจ้าก็คือ การแข่งขันในเรื่องราคา ประกันประเภทเดียวกัน อาจจะมีราคาต่างกันในแต่ละบริษัท ขึ้นอยู่กับการลองตระเวนหาราคาที่ดีที่สุดของผู้ซื้อเอง แต่ สำหรับผู้ซื้อรถที่ต้องอาศัยการผ่อนชำระกับไฟแนนซ์ที่จะต้องถูกบังคับให้ทำ ประกันกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งไปเลย ก็คงไม่มีโอกาสทำเช่นนี้ได้
เพราะฉะนั้นหากลองมาสรุปดูถึงเหตุผลในการเลือกบริษัทประกันของคนไทย น่าจะสรุปได้เป็น
1. ถูกกำหนดโดยบริษัทไฟแนนซ์หรือผู้ให้สินเชื่อในการเช่าซื้อ
2. ประกันภัยฟรีที่เป็นแคมเปญควบคู่กับการซื้อรถ
3. เลือกหาที่ชอบเอง
4. เลือกเจรจากับบริษัทที่ให้เงื่อนไขที่ดี สำหรับการเหมารวมทำประกันเป็นล็อต หรือรถหลายๆ คัน
สำหรับกรณีแรกคงเป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้จริงๆ ที่จะต้องยอมรับเงื่อนไข แต่ถ้าจะให้ดีก็ลองขอดูรายละเอียดการรับประกันของบริษัทนั้นให้ดีว่าสิทธิ์ ในการเรียกร้อง ของเรามีได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าไม่เข้าใจก็ถามไม่ต้องเกรงใจกลัวว่าเดี๋ยวเขาจะไม่ปล่อยสินเชื่อให้ ไม่ต้องห่วงหรอกครับ ถึงขั้นนั้นแล้วเขาไม่ยอมปล่อยให้เรา หลุดมือไปหรอกครับ กำไรเห็นๆ อย่างงั้น แต่ถ้าจะให้มองโลกในแง่ดี บริษัทประกันที่ผู้ให้สินเชื่อเช่าซื้อเลือกมาให้กับลูกค้าของตนต้องเป็น บริษัทที่ไว้เนื้อเชื่อใจ ได้พอสมควรเหมือนกัน เพราะในระหว่างที่คุณเช่าซื้อรถยนต์ไปขับ ก่อนที่จะสิ้นสุดสัญญาเช่าซื้อ รถคันนั้นก็ยังถือว่าเป็นรถของผู้ให้สินเชื่อนั้นด้วยเช่นกัน
จุดสำคัญที่เราจะมาคุยกันคงเป็นเงื่อนไขแบบที่สาม ที่เรามีความเป็นอิสระเต็มที่ ในการเลือกบริษัทประกันที่เรารู้สึกว่าคุ้มค่าและมั่นใจว่าเลือกไม่ผิด
ทุกบาทควรจะต้องคุ้มค่า
ถึงแม้ว่าคุณจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวกับตัวคุณได้ เช่น อายุของคุณหรือรถที่คุณขับ แต่ก็มีหลายวิธีที่คุณน่าจะลองนำเอามาใช้เวลาที่จะซื้อประกันเพื่อประหยัด รายจ่ายเบี้ยประกันให้กับตัวคุณเอง
คุ้มครองมากกว่าหนึ่ง
หากคุณมีรถหลายคัน หรือว่าญาติพี่น้องที่มีรถอาจจะรวมทำประกันบริษัทเดียวกัน เพื่อการต่อรองแบบทำประกันยกล็อต ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทประกัน สามารถที่จะให้ข้อเสนอพิเศษกับคุณได้บ้างไม่มากก็น้อย
NCB No Claim Bonus
ถ้าอยากจะลดค่าเบี้ยในปีถัดไป หมายความว่าคุณอาจจะต้องมีประวัติที่ไม่เคย ขอเคลมประกัน ในกรณีที่คุณเป็นฝ่ายผิด แต่หากเป็นความผิดของฝ่ายคู่กรณี ก็เป็นคนละเรื่องกัน แต่หากคุณเป็นประเภทขับรถไม่แคร์ใคร ชนก็ช่าง เดี๋ยวประกันก็จ่าย ถ้าในหนึ่งปีคุณต้องเจอหน้ากับเจ้าหน้าที่ทำเรื่องเคลมบ่อยๆประวัติของคุณจะ ถูกบันทึกเอาไว้ และเป็นไปได้ว่าคุณอาจจะถูกปฏิเสธไม่รับประกันในปีถัดไป และประวัติของคุณก็จะถูกส่งไปเก็บเอาไว้ที่ศูนย์กลางข้อมูล เมื่อคุณไปขอทำกับบริษัทอื่น ข้อมูลนั้นก็จะถูกเรียกมาดู เห็นประวัติการชนอัน โชกโชน คุณก็อาจจะถูกปฏิเสธไปเรื่อยๆ หรือถ้าอยากจะทำจริงๆ ก็ต้องจ่ายแพง ขึ้นกว่าที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นขับรถระวังชนไม่ต้องทนกับค่าประกันแพง หรือ อีกกรณีหนึ่งที่ความเสียหายไม่มากนัก ที่คุณอาจจะเสียเพียงสองถึงสามพันบาท คุณอาจจะยอม |
Deductible ส่วนหักลด
ท่านทราบหรือไม่ว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้เอาประกันรถยนต์หนึ่งคนจะทำเรื่องเพื่อ ขอเคลมประกันหนึ่งครั้งในทุกสามปี และหนึ่งครั้งที่เป็นอุบัติเหตุที่มีค่าความ เสียหายมากในทุกสิบปี ใช่ครับ ไม่ผิดหรอกครับ หลายท่านคงอาจจะลองเปรียบเทียบกับประวัติของตนดูบ้าง บางท่านก็อาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่า ก็คงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยตามที่กล่าวมาแล้ว แต่หาก ท่านมั่นใจว่าจะตั้งใจขับรถด้วยความไม่ประมาท แล้วท่านก็ไม่ต้อง ใช้รถบ่อยนัก ไม่ต้องอยู่ในภาวะเสี่ยงในเวลาขับรถภาวะเสี่ยงที่ว่า ก็เช่น บ้านอยู่ห่างกับที่ทำงาน ต้องขับรถไกล หรือต้องทำงานหนัก เหนื่อยมากทุกวันตอนขับรถกลับบ้านแอบเผลอหลับตอนติดไฟแดง (ขอเถอะครับ ไม่ขับได้ก็เป็นดี ผมเป็นห่วง) เหล่านี้ ลองคิดถึงส่วนหักลดที่ผู้เอาประกันยอมจ่ายเองเวลา ที่เกิดเหตุ ไม่ว่าจะเป็น 2,000 บาท หรือ 5,000 บาท ที่จะช่วยลดค่าเบี้ยประกันลงไปได้มากทีเดียว
กำหนดผู้ขับขี่รถยนต์คันที่เอาประกันไว้ อย่างแน่นอน
ความแตกต่างอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดในเรื่องการทำประกันรถยนต์ในเมืองไทย และที่ต่างประเทศ ก็คือ ที่ต่างประเทศจะมีทั้งการทำประกันรถและการทำประกัน ผู้ขับขี่ ซึ่งหมายถึงผู้เอาประกันสามารถไปขับรถคันไหนก็ได้ สัญญาการประกัน จะตามไปรับผิดชอบให้ แต่สำหรับเมืองไทยที่เห็นจะเป็นการทำประกันรถยนต์ โดยตรง คือใครมาขับรถคันนี้ขอให้มีใบขับขี่ สัญญาการรับประกันก็จะรับผิดชอบ ให้ แต่ก็มีบ้างเหมือนกันหากคุณจะลองถามบริษัทผู้รับประกันดูว่า หากคุณ ต้องการจะกำหนดผู้ขับขี่สำหรับรถคันนี้ ก็จะสามารถช่วยคุณลดค่าเบี้ยประกันลงไปได้มากทีเดียว
เมื่อได้ข้อคิดในการทำประกันที่น่าจะช่วยลดค่าเบี้ยประกันได้ คราวนี้คงมาถึง คำแนะนำในการเลือกบริษัทประกัน ที่มีอยู่หลายบริษัท
ดูที่การให้บริการ
อย่างที่เกริ่นกันเอาไว้ตั้งแต่ต้นว่า ผู้ซื้อประกันหลายคนที่ต้องผิดหวังอย่างแรง เวลาที่ต้องเรียกใช้บริการหลังจากที่ประสบเหตุ รอเป็นวัน โทรไปเรียกกว่าจะมาปา เข้าไปสามชั่วโมง มาถึงบางครั้งก็เหมือนกับอยู่ฝ่ายตรงข้ามไปซะเฉยๆ ทำไมจะมายกให้เราผิดซะอยู่เรื่อย ไม่เท่านั้น เวลาที่เจรจาเรื่องค่าซ่อม ฝ่ายเจ้าของรถก็ อยากจะซ่อมให้ดีที่สุด ในขณะที่ฝ่ายบริษัทก็อยากจะจ่ายให้ถูกที่สุด จนบางครั้ง เจ้าของรถต้องยอมที่จะจ่ายส่วนต่างเอง เพื่อให้จบเรื่องไป แล้วสาปส่งไม่ขอ ข้องเกี่ยวกับบริษัทประกันที่ว่านั้นอีก ถึงแม้ว่าจะมีข้อเสนอให้ส่วนลดในการซื้อประกัน แต่ก็คงไม่สามารถซื้อใจเจ้าของรถผู้นั้นได้อีกต่อไป
เพราะฉะนั้นหากจะเลือกซื้อประกันกับบริษัทใด ขอให้ดูและหาข้อมูลเรื่องการให้ บริการของบริษัทนั้นให้ละเอียด ถามผู้ที่เคยทำประกันกับบริษัทนั้นมาก่อนก็ได้ หรืออาจจะลองตรวจสอบดูเครื่องหมายรับประกัน คุณภาพ ISO ก็อาจจะช่วยให้ เชื่อใจได้บ้างเช่นกัน
ฐานะทางการเงินของบริษัท
การพิจารณาที่มีความสำคัญค่อนข้างมากก็คือ ฐานะทางการเงินของบริษัท เพราะบริษัทประกันนั้นไม่ต่างไปจากสถาบันการเงิน ซึ่งหากมีฐานะทางการเงินที่ไม่มั่นคง ก็อาจจะเกิดเหตุบริษัทประกันล่ม เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับบริษัทประกันดังๆ หลายบริษัทในอดีตที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ควรจะพิจารณาถึงเรื่องนี้ให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจ
แต่อุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับการตรวจสอบในเรื่องนี้ก็เห็นจะเป็นข้อมูลที่อาจ จะไม่สามารถหาดูได้ง่ายนัก ถึงแม้ว่าบริษัทรับประกันวินาศภัยในไทยที่มีอยู่ทั้งหมด 72 บริษัท แต่มีเพียง 6 บริษัทเท่านั้นที่ครองมาร์เก็ตแชร์เป็นส่วนใหญ่ และทั้ง 6 บริษัทก็ไม่ได้จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด เพราะฉะนั้นการตรวจ สอบจึงค่อนข้างยาก แต่อย่างน้อยที่สุดให้ลองดูว่าบริษัทที่สนใจมีทุนจดทะเบียน มากน้อยกว่ากันแค่ไหน
การเคลมประกัน
“ซื้อประกัน แต่ไม่หวังอยากเคลมประกัน”
อย่ายอมประนีประนอมระหว่างความสะดวก รวดเร็ว กับคุณภาพ ที่อาจจะถูกตัดทอนออกไป โดยที่คุณมองไม่เห็น หลายครั้งเมื่อเกิดเหตุ บริษัทประกันมักจะมีอู่ซ่อมในเครือที่เจ้าของรถสามารถนำรถเข้าไปให้ซ่อมได้ เลย โดยไม่ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้ท่านได้ลองตรวจสอบดูอู่ที่ว่านั้นให้ดีก่อนว่า ไว้เนื้อเชื่อใจได้หรือเปล่า มิเช่นนั้น อาจจะต้องเสียใจในภายหลังได้ โดยเฉพาะท่านที่มีรถราคาแพง ซึ่งอาจจะโดนหลอกเอาอะไหล่ปลอมใส่เข้ามาโดยที่คุณเอง ก็ไม่รู้ จนกระทั่งเจ้าอะไหล่ตัวนั้นเกิดเหตุทำพิษขึ้นในตอนหลังถึงแม้ว่าเราจะตั้งอก ตั้งใจเลือกบริษัทประกัน จนได้บริษัทที่เราคิดว่าดีที่สุดแล้ว ข้อแนะนำเวลาเกิดเหตุที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขอให้คุณจดรายละเอียดข้อมูลทั้ง หมดเอาไว้ให้ได้มากที่สุด ทั้งทะเบียนรถ ชื่อของฝ่ายคู่กรณี หมายเลขใบขับขี่ พยานผู้รู้เห็น หากมีหรือจะถ่ายภาพเอาไว้ก็ยิ่งดี ถ้าหากคุณมีกล้องติดตัวไปด้วย แต่ที่สำคัญที่สุด ที่เราๆ ท่านๆ ควรจะมีพกติดตัวและใช้มันอยู่ตลอดเวลา ก็คือ ความไม่ประมาทในการขับรถ
เมื่อผู้ประกันตนเป็นผู้ประสบภัยจากรถ จะเบิกได้ทั้งจากประกันสังคมและประกันภัยหรือไม่่
ส่วนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็น กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ ให้ความคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ซึ่งได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย เนื่องจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง หรือเนื่องจากสิ่งที่บรรทุก หรือติดตั้งในรถนั้น โดยความเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยนั้น ต้องเป็นความเสียหาย ที่เกิดจากรถ เช่น รถชน หรือรถพลิกคว่ำ เป็นต้น
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาก็คือ ถ้าผู้ประกันตน ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถ จะเรียกร้องได้ทั้งจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และจากบริษัทประกันภัยหรือ ไม่ ถ้าผู้ประกันตน ได้รับอันตรายจากรถ ที่ปฏิบัติกันอยู่เป็นปกติในเวลานี้ก็คือ โรงพยาบาลจะให้ผู้ประกันตน ใช้สิทธิจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน เพื่อโรงพยาบาล จะได้ไม่ต้องควักกระเป๋าของโรงพยาบาล เพราะโรงพยาบาล ได้รับเงินมาจำนวนหนึ่ง เป็นการเหมาจากสำนักงานประกันสังคม ขาดทุนกำไรเป็นเรื่องของโรงพยาบาลเอง เท่ากับว่าโรงพยาบาล เป็นบริษัทประกันภัยบริษัทหนึ่ง ถ้าผู้ประกันตน ใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้ครบถ้วนแล้ว ก็จบกันไป เพราะถือว่า ได้รับค่าสินไหมทดแทนครบถ้วนแล้ว จะมาเรียกร้องตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อีกไม่ได้
เมื่อมีผู้ประสบภัยจากรถ มาเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล โรงพยาบาลทั้งหลาย ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ผู้ประสบภัย ต้องใช้สิทธิจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน ถ้าไม่พอ จึงจะเบิกจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้ ซึ่งก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จะเบิกทั้งสองทางไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีกฎหมายเขียนไว้ตรงไหนเลยว่า ผู้ประกันตน จะต้องเบิกจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ก่อน เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า นายธนวัฒน์ เป็นลูกจ้างของบริษัท วิงเกิ้ล จำกัด และเป็นผู้ประกันตน โดยให้โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท เป็นสถานพยาบาล ที่ให้บริการทางการแพทย์ ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2537 นายธนวัฒน์ ได้ขับรถยนต์ประสบอุบัติเหตุ ชนกับรถจักรยานยนต์ เป็นผลทำให้ได้รับบาดเจ็บสาหัส และหมดสติ มีผู้นำส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต นายธนวัฒน์ เสียค่าบริการทางการแพทย์ ไปเป็นเงิน 7,905 บาท หลังจากนั้น น้องภริยาของนายธนวัฒน์ ได้นำนายธนวัฒน์ ไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสมิติเวช เสียค่ารักษาพยาบาลทางการแพทย์ไปอีก 138,420 บาท รวมสองแห่งเป็นเงินทั้งสิ้น 146,325 บาท นายธนวัฒน์ ได้ใช้สิทธิของภริยา ซึ่งรับราชการเบิกค่ารักษาพยาบาล จากทางราชการเป็นเงินทั้งสิ้น 23,643 บาท และได้เบิกเงินค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัย ที่รับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 อีกจำนวน 10,000 บาท
หลังจากนั้น นายธนวัฒน์ ได้ยื่นคำร้องขอรับเงินผลประโยชน์ทดแทน กรณีเจ็บป่วย จากสำนักงานประกันสังคม แต่สำนักงานประกันสังคม วินิจฉัยว่า นายธนวัฒน์ ไม่มีสิทธิได้รับจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ใน ส่วนที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลรังสิต จำนวน 7,905 บาท เพราะนายธนวัฒน์ ได้เบิกจากบริษัทประกันภัย ที่รับประกันภัยรถตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว จำนวน 10,000 บาท เพราะเป็นการซ้ำซ้อน ถือเป็นการค้ากำไร จากการประกันสังคม ส่วนค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสมิติเวช มิใช่โรงพยาบาลที่กำหนด จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนนี้
นายธนวัฒน์ ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการอุทธรณ์ วินิจฉัยว่า อาการบาดเจ็บของนายธนวัฒน์ ที่เกิดจากอุบัติเหตุ และถูกนำส่งโรงพยาบาลแพทย์รังสิต ซึ่งอยู่ใกล้ที่เกิดเหตุ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ แต่เนื่องจาก นายธนวัฒน์ ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จำนวน 10,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลในส่วนนี้อีก ส่วนการรักษาพยาบาลต่อมา ที่โรงพยาบาลสมิติเวช นายธนวัฒน์ มิได้ปฏิบัติตามระเบียบของสำนักงานประกันสังคม จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์ (คำวินิจฉัยที่ 271/2538)
นายธนวัฒน์ จึงฟ้องสำนักงานประกันสังคม เป็นจำเลยต่อศาล สำนักงานประกันสังคม ให้การต่อสู้ว่า กรณีที่นายธนวัฒน์ เข้ารับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลแพทย์รังสิต เพราะประสบอุบัติเหตุ ถือว่าเป็นกรณีฉุกเฉิน ที่ไม่สามารถไปรับการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไทได้ นายธนวัฒน์ จึงมีสิทธิได้รับเงินค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน 7,905 บาท จากสำนักงานประกันสังคม ซึ่งเป็นการให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง เมื่อประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน เป็นการให้ความคุ้มครองด้านสวัสดิการแก่ลูกจ้าง เมื่อได้รับความเดือดร้อนเจ็บป่วย ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แต่เมื่อนายธนวัฒน์ ได้รับสิทธิประโยชน์จากบริษัทผู้รับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นเงิน 10,000 บาท ซึ่งคุ้มกับจำนวนเงินที่นายธนวัฒน์ ได้เสียค่าบริการทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาลแพทย์รังสิตแล้ว นายธนวัฒน์ จึงไม่มีสิทธิเรียกจาก สำนักงานประกันสังคมอีก ส่วนค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลสมิติเวช มิใช่สถานพยาบาล ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด แต่เป็นความประสงค์ของนายธนวัฒน์เอง โดยยังอยู่ในวิสัยที่นายธนวัฒน์ จะมารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท อันเป็นโรงพยาบาลที่กำหนด ให้นายธนวัฒน์เข้ารักษา แต่นายธนวัฒน์ ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนนี้
ศาลแรงงานกลางพิจารณา แล้วพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของกองประโยชน์ทดแทน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลรังสิต จำนวน 7,905 บาท สำนักงานประกันสังคม อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงาน วินิจฉัยว่า คดีคงมีปัญหาตามอุทธรณ์ ของสำนักงานประกันสังคม เฉพาะที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลแพทย์รังสิต จำนวน 7,905 บาท ว่า เมื่อนายธนวัฒน์ ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล จำนวน 10,000 บาท จากบริษัทผู้รับประกันภัยรถ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 แล้ว นายธนวัฒน์ จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน 7,905 บาท ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 อีกหรือไม่ ซึ่งสำนักงานประกันสังคมอุทธรณ์ว่า พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มีเจตนารมณ์ ที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ลูกจ้าง และบุคคลอื่น ที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน รวมทั้งการคลอดบุตร ชราภาพ และกรณีว่างงาน ซึ่งให้หลักประกัน เฉพาะลูกจ้างอันเป็นการช่วยเหลือ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ ให้ลูกจ้างมาค้ากำไรจากการประกันสังคมนี้ ฉะนั้น จึงเบิกซ้ำซ้อนไม่ได้ เมื่อเงินในส่วนที่ลูกจ้างได้จ่ายไป เบิกได้จากบริษัทประกันภัย ที่ได้รับประกันภัยรถแล้ว หากให้สิทธิแก่ลูกจ้าง มาเบิกจากสำนักงานประกันสังคมได้อีก ก็เท่ากับลูกจ้าง เบิกได้ซ้ำซ้อนสองทาง จากอุบัติเหตุเดียวกัน
กรณีจะเทียบเคียงกับพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ไม่ได้ ต้องใช้หลักกฎหมายทั่วไป ในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 870, 871, 872, 873, 874 และมาตรา 877
ประกอบด้วยมาตรา 4 มาบังคับเห็นว่า สิทธิของนายธนวัฒน์ ที่ได้รับเงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัย เป็นสิทธิตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่บังคับให้เจ้าของรถ ซึ่งใช้รถ หรือมีรถไว้ เพื่อใช้ ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัย โดยประกันภัย กับบริษัทประกันภัย และต้องเสียเบี้ยประกันภัย ส่วนสิทธิของนายธนวัฒน์ที่จะได้รับเงินทดแทน ค่าบริการทางการแพทย์ จากสำนักงานประกันสังคม เป็นสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งบังคับให้ลูกจ้าง ต้องเป็นผู้ประกันตน และส่งเงินเข้ากองทุนสมทบ เมื่อเป็นสิทธิของผู้ประกันตน ตามกฎหมายแต่ละฉบับ โดยนายธนวัฒน์ต้องเสียเบี้ยประกันภัย และส่งเงินเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณี ตามที่กฎหมายแต่ละฉบับดังกล่าว กำหนดไว้ ซึ่งต้องชำระทั้งสองทาง และเมื่อพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิ มิให้ผู้ที่ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่น แล้วมารับเงินทดแทนอีก สำนักงานประกันสังคม จึงจะยกเอาเหตุที่นายธนวัฒน์ ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาล จากบริษัทประกันภัยแล้ว มาเป็นข้ออ้าง เพื่อไม่จ่ายเงินทดแทน แก่นายธนวัฒน์หาได้ไม่ พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 เป็นกฎหมายพิเศษ ที่บัญญัติขึ้น เพื่อให้การสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง หรือบุคคลอื่น ซึ่งประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงานรวมทั้งกรณีอื่นอีก จึงจะนำหลักกฎหมายทั่วไป ในเรื่องประกันวินาศภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ไม่ได้ นายธนวัฒน์ มีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ จำนวน 7,905 บาท จากสำนักงานประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของสำนักงานประกันสังคมฟังไม่ขึ้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 2040/2539)
จากคำพิพากษาฎีกาที่กล่าวข้างต้น จึงสามารถถือเป็นบรรทัดฐานได้ว่า ถ้าผู้ประกันตน ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถ ย่อมจะสามารถเบิกได้ทั้งจากพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และจากบริษัทประกันภัย ใน
ทำนองเดียวกัน ผู้ประกันตน ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ในโรงพยาบาล และผู้ประกันตน มีการทำประกันภัยสุขภาพ ไว้กับบริษัทประกันชีวิต หรือบริษัทประกันวินาศภัย ก็ย่อมจะเบิกทั้งจาก พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และจากการประกันสุขภาพในขณะเดียวกัน
ปัญหามีอยู่ว่า ถ้าผู้ประกันตน ตกเป็นผู้ประสบภัยจากรถ ที่ฝ่าฝืน ไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหาย สำหรับผู้ประสบภัย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 นอกจากผู้ประกันตน จะเบิกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้แล้ว สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ของกรมการประกันภัย ยังจะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ประกันตนอีกหรือไม่ สมมุติว่านายกำปง ขับรถยนต์ของนายกำปั่น ซึ่งฝ่าฝืนไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหาย ไปชนนายกำไรบนท้องถนน และนายกำปั่น ในฐานะเจ้าของรถ ไม่ยอมจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับนายกำไร นายกำไร จึงมายื่นคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น จากสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย กรณีเช่นนี้ ไม่ต่างไปจากกรณีของนายธนวัฒน์แต่ประการใด ดังนั้น กองทุนทดแทนผู้ประสบภัย จึงต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ให้กับนายกำไร แล้วไปใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากนายกำปั่น ผู้เป็นเจ้าของรถ โดยอาศัยบทบัญญัติในมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
วิธีประหยัดเบี้ยประกันภัยรถยนต์
หลาย ท่านซื้อประกันภัยรถยนต์ปีหนึ่งหลายหมื่นบาท หากมีหลายคันค่าใช้จ่ายยิ่งจะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ด้านล่างนี้เป็นวิธีการลดค่าใช้จ่ายของคุณในแต่ละปี ในการซื้อประกันภัยรถยนต์ในราคาประหยัด
1. ส่วนลดประวัติดี
ใน แต่ละปีที่ท่านทำประกันไว้ ถ้ารถยนต์ที่เอาประกันภัยของท่านไม่เคยมีเคลมเลยในปีที่ผ่านมา หรือมีเคลมแต่ไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ท่านจะได้รับส่วนลดประวัติดี ตามลำดับขั้นในแต่ละปี สูงสุดถึง 50% ของเบี้ยประกันภัยในปีที่ต่ออายุ ดังนี้
· ขั้นที่ 1 ขับรถดีในปีแรก รับส่วนลด 20%
· ขั้นที่ 2 ขับรถดี 2 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 30%
· ขั้นที่ 3 ขับรถดี 3 ปีติดต่อกัน รับส่วนลด 40%
· ขั้นที่ 4 ขับรถดีติดต่อกันตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป รับส่วนลด 50%
หมายเหตุ : หาก ท่านเป็นฝ่ายผิด ส่วนลดประวัติดีจะลดลงทีละขั้น เช่นหากท่านมีประวัติดี 40 เปอร์เซ็นต์ และเป็นฝ่ายผิด 1 ครั้ง ส่วนลดก็จะลดลงเหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ บางคนอาจจะเข้าใจว่าหากเป็นฝ่ายผิดเพียงครั้งเดียว ประวัติดีจะหมายหมด ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด
2.ระบุชื่อผู้ขับขี่
การประกันภัยรถยนต์ แบบระบุชื่อผู้ขับขี่ สำหรับรถยนต์นั่ง รถยนต์โดยสาร ที่ใช้ส่วนบุคคล สามารถเลือกระบุชื่อผู้ขับขี่ได้ไม่เกิน 2 คน โดยจะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัยตามช่วงอายุของผู้ขับขี่ ตั้งแต่ 5 - 20% ดังนี้
ช่วงอายุ | ส่วนลดเบี้ย |
18 / 24 ปี | 5% |
25 – 35 ปี | 10% |
36 – 50 ปี | 15% |
50 ปีขึ้นไป | 20% |
3. ความเสียหายส่วนแรก (Deductible)
การทำประกันภัยรถยนต์แบบมี Deductible เป็น วิธีการที่ท่านเลือกรับความเสี่ยงภัยไว้เองบางส่วน ในกรณีที่เกิดความเสียหายจากอุบัติเหตุในละครั้ง ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันภัยได้ส่วนหนึ่ง เช่น หากคุณซื้อค่าเสียหายส่วนแรกเพิ่มเป็นจำนวนเงิน 2,000 บาท เป็นต้น คุณก็จะได้ลดเบี้ยประกันจากยอดเดิม อาจจะ 4,000 – 5,000 บาท แล้วแต่บริษัท แต่หากมีอุบัติเหตุ และคุณเป็นฝ่ายผิดคุณก็ต้องเสียเงินจำนวน 2,000 บาท/ครั้ง เพราะว่าว่าเงินตรงนี้เป็นการร่วมรับผิดกับบริษัทประกันฯ นั่นเอง
4.ส่วนลดกลุ่ม
หากท่านมีรถยนต์ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ที่จดทะเบียนชื่อเดียวกัน จะได้รับส่วนกลุ่ม
5. สมัครตัวแทนเพื่อใช้เอง
วิธี การสุดท้ายที่จะทำให้คุณซื้อประกันภัยได้ในราคาประหยัด นั่นก็คือการสมัครตัวแทน เพื่อซื้อในราคาทุน การสมัครตัวแทนมีอยู่หลายบริษัท เงื่อนไข และรายละเอียดก็จะแตกต่างกัน และบริษัทไอบีเอสซี โบรคเกอร์ก็เป็นอีกบริษัทหนึ่งที่รับสมัครตัวแทน เพื่อขายประกัน หรือว่าเอาไว้ซื้อประกันใช้เอง เงื่อนไขก็ไม่ยาก ใช้แค่สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และค่าสมัครเพียง 200 บาทแค่นั้นเอง ง่ายๆ แค่นี้แต่อาจจะประหยัดค่าเบี้ยปีละ 2,000 – 5,000 บาทเลยก็ได้ แถมบริษัทมีบริการเงินผ่อนด้วย
ค่าเสียหายส่วนแรกคืออะไร
1. ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ
สำหรับเจ้าของรถที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และมีความระมัดระวังในการขับรถอาจเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง ซึ่งสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ (รถเราเอง) และคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์ สินของบุคคลภายนอก) โดยบริษัทประกันภัยจะลดเบี้ยประกันภัยให้เป็นจำนวนเงินตามเงื่อนไขในสัญญา
ความเสียหายโดยสมัครใจนี้ เช่น ประกันภัยรถยนต์ 3 พลัส หรือประกันภัยรถยนต์ 2 พลัส ถือเป็นตัวอย่างของความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ เพราะกรมธรรมธ์ทั้ง 2 ประเภทนี้หากผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดจะต้องรับผิดชอบเองส่วนหนึ่ง ปกติแล้วคือ 2,000 บาท
2. ความเสียหายส่วนแรกในกรณีผิดสัญญา
เป็นความเสียหายที่ไม่ได้เป็นไปตามสัญญากรมธรรมธ์ กล่าวคือกรมธรรม์ระบุอีกแบบหนึ่ง แต่ในความเป็นจริงเป็นอีกแบบหนึ่ง กรณีเช่นนี้บริษัทประกันยังคงรับผิดในความเสียหาย แต่อาจจะเรียกเก็บเบี้ยเพิ่มกับผู้เอาประกัน เบี้ยเพิ่มส่วนนี้อาจเรียกได้ว่าค่าเสียหายส่วนแรก หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดเงื่อนไขการรับประกัน ซึ่งมีดังนี้
โดยปกติเราสามารถระบุผู้ขับขี่ได้ 2 คนเผื่อทำให้เบี้ยถูกลง แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุ ปรากฎว่ามีบุคคลอื่นขับขี่ ไม่ใช่ 2 คนที่ระบุไว้ในกรมธรรมธ์แถมเป็นฝ่ายผิดด้วย หากเกิดกรณีนี้ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนแรกต่อความ เสียหายดังนี้
- 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์คันเอาประกันภัย
- 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
2.2 กรณีใช้รถผิดประเภท
จะเกิดขึ้นในกรณีผู้ซื้อประกัน ซื้อประกันภัยรถยนต์ โดยระบุไว้ว่ารถยนตืดังกล่าวเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล แต่ตอนเกิดอุบัติเหตุพบว่าเอารถไปรับจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงกว่ารถยนต์ส่วนบุคคล กรณีเช่นนี้ หากบริษัทพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้รถยนต์ผิดประเภท ผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดชอบเอง ดังนี้ 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก
30 อันดับบริษัทประกัน รถยนต์ ตามเบี้ยประกัน รถยนต์ ปี 2549
1 | วิริยะประกันภัย |
2 | กรุงเทพประกันภัย |
3 | สินมั่นคงประกันภัย |
4 | ประกันคุ้มภัย |
5 | แอลเอ็มจี ประกันภัย |
6 | ธนชาตประกันภัย |
7 | ลิเบอร์ตี้ประกันภัย |
8 | มิตรแท้ประกันภัย |
9 | ทิพยประกันภัย |
10 | เอ็ม เอส ไอ จี ประกันภัย |
11 | เมืองไทยประกันภัย |
12 | กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยฯ |
13 | ไทยศรีประกันภัย |
14 | อาคเนย์ประกันภัย |
15 | ประกันภัยไทยวิวัฒน์ |
16 | เจ้าพระยาประกันภัย |
17 | ไทยเศรษฐกิจประกันภัย |
18 | นวกิจประกันภัย |
19 | นำสินประกันภัย |
20 | ประกันภัยศรีเมือง |
21 | คูเนีย ประกันภัย |
22 | สินทรัพย์ประกันภัย |
23 | แอกซ่าประกันภัย |
24 | ส่งเสริมประกันภัย |
25 | สหมงคลประกันภัย |
26 | ศรีอยุธยาประกันภัย |
27 | เทเวศประกันภัย |
28 | กมลประกันภัย |
29 | ไทยพาณิชย์สามัคคี |
30 | กรุงไทยพานิช ฯ |