วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การแก้ไขปัญหารถยนต์เบื้องต้น

การแก้ไขปัญหารถยนต์เบื้องต้น

เครื่องยนต์ระบบหัวฉีดและการล้างห้องเครื่องยนต์

่เครื่องยนต์ ระบบหัวฉีดอีเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปนั้น ภายในห้องเครื่องยนต์ จะมีอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ ตัวรับสัญญาณและขั้วต่อสัญญาณหลายจุด ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ หากมีน้ำรั่วซึมเข้าไปในระบบ อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย กับชิ้นส่วนนั้น หรือทำให้เครื่องยนต์เดินไม่เรียบ ดังนั้นถ้าท่านต้องการที่จะทำความสะอาดภายในห้องเครื่องยนต์ ก็ สามารถทำได้ แต่ไม่ควรที่จะใช้น้ำที่มีแรงดันสูง ในกรณีที่เครื่องยนต์สกปรกมาก และต้องการใช้น้ำที่มีแรงดันสูงชำระ คราบสกปรก ควรใช้ถุงพลาสติกคลุมชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า และอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ให้มิดชิด เช่น ชุดจายจ่าย กล่องฟิวส์และจุดขั้วต่อของสายไฟ กลับ


เมื่อเครื่องร้อนจัด (over heat)

โดย ปกติอุณหภูมิของเครื่องยนต์หรืออุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น จะอยู่ที่ประมาณ 85 องศาเซลเซียส-90 องศาเซลเซียส และเข็มวัดอุณหภูมิที่แสดงบนแผงหน้าปัทม์จะอยู่ที่ระดับไม่เกินครึ่งหนึ่ง ของมาตรวัด ( สูงไม่เกินกึ่งกลางระหว่างตัว C และ H ) ถ้าเมื่อใดก็ตามเข็มวัดอุณหภูมิสูงจนถึงตัว H นั่นย่อมแสดงว่าเกิดความผิดปกติในระบบระบายความร้อน (ยกเว้นมาตรวัดอุณหภูมิเสีย) การที่เครื่องยนต์อุณหภูมิสูงผิดปกติ อาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุดังนี้ น้ำหล่อเย็นภายในระบบไม่เพียงพอสำหรับการระบายความร้อน เช่น เกิดการรั่วในระบบหล่อเย็น ปั้มน้ำชำรุดหรือสายพานขับปั้มน้ำขาด วาล์วน้ำไม่เปิดตามอุณหภูมิที่กำหนด พัดลมระบายความร้อนไม่ทำงาน หรือทำงานผิดปกติ รังผึ้งหม้อน้ำมีเศษผงฝุ่นอุดตันตามครีบระบายความร้อน เมื่อพบว่าเครื่องยนต์ร้อนจัดให้ปฏิบัติดังนี้ นำรถเข้าจอดข้างทางแล้วดับเครื่องยนต์ เปิดฝากระโปรงหน้ารถเพื่อให้ความร้อนระบายออกจากเครื่องยนต์ให้เร็วที่สุด อย่าใช้น้ำราดเพราะจะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหาย ถ้าในกรณีมีไอน้ำพุ่งออกมาจากฝากระโปรงหน้ารถ อย่าเพิ่งเปิดฝากระโปรงหน้ารถ ให้รอจนไม่มีไอน้ำพุ่งแล้วจึงค่อยเปิด ให้รอจนเครื่องยนต์อุณหภูมิลดลงแล้วจึงเปิดฝาหม้อน้ำอย่าเปิดฝาหม้อน้ำทันที เพราะภายในหม้อน้ำยังร้อนจัด และมีแรงดันสูงน้ำอาจจะพุ่งขึ้นมา ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและควรสวมถุงมือหรือใช้ผ้าหนาๆในระหว่างเปิดฝา หม้อน้ำ เมื่อเครื่องยนต์เย็นแล้ว ให้เติมน้ำเข้าไปในหม้อน้ำ อย่าเติมในขณะร้อนจัด ให้ค่อยๆเติมน้ำอย่างช้าๆ แล้วติดเครื่องด้วยรอบเดินเบา เมื่อเติมน้ำเต็มระบบแล้ว ทิ้งสักพักหนึ่ง แล้วดูสิ่งผิดปกติ ถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติ ก็น้ำรถไปเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดอีกครั้งหนี่ง แต่ถ้าพบสิ่งผิดปกติ ให้ติดต่อศูนย์บริการที่ใกล้ที่สุด


อาการแผ่นคลัทซ์หมด

เมื่อ แผ่นกดคลัทช์สึกหรอจนเกีอบหมด ก็จะเกิดอาการที่เรียกว่า " คลัทช์ลื่น" สังเกตุได้ก็คือ เมื่อเราปล่อยคลัทช ์และเร่งเครื่องเพื่อออกรถรอบเครื่องจะสูงขึ้น แต่รถไม่ขยับหรือขยับช้าๆ คล้ายๆกับไม่มีแรง และ หากแผ่นคลัทช์หมดจริงๆ ก็จะมีหมุดทองเหลืองที่ติดอยู่บนแผ่นคลัทช์ ซึ่งเมื่อแผ่นคลัทช์สึกหรอจนถึงตัวหมุด ล้อช่วยแรงจะเสียดสีกับตัวหมุด ทำให้เกิดเสียงดัง เป็นการเตือนให้ผู้ใช้รถทราบว่าแผ่นคลัทช์หมดแล้ว ถ้าปล่อยไว้นานๆ จะทำให้หน้าสัมผัสของล้อช่วยแรง และแผ่นกดคลัทช์เป็นรอย เนื่องจากการเสียดสีได้ ส่วนแผ่นคลัทช์จะสึกหลอเร็วหรือช้า สาเหตุอาจจะมาจากการขับขี่ด้วย


อายุของยางรถยนตร์

โดย ทั่วไปสามารถวิ่งได้ถึงระยะทาง 50000 กม. ซึ่งต้องขึ้นกับการขับขี่ ผิวถนน แรงดันลมยาง การบำรุงรักษา และการสลับยาง ซึ่งสามารถตรวจเช็คสภาพของดอกยาง โดยพิจาราณาตัวบ่งชี้ความสึกหรอของยาง ถ้ายางถึงจุดหมดสภาพสมควรเปลี่ยนยาง ยางของรถบางยี่ห้อจะมีจุดบอกสภาพของดอกยางอยู่ด้วยว่า ถึงเวลาควรเปลี่ยนยางหรือ ยังโดยดูจาก จุดหมดสภาพในร่องของดอกยาง เมื่อยางสึกหรอจนเหลือดอกยางลึกเพียง 1.6 มม. หรือน้อยกว่า ถ้าสึกหรอเป็นแนวมากกว่า 2 แนวขึ้นไปควรเปลี่ยนยาง ถ้าดอกยางตื้นมากก็ต้องเสี่ยงกับการลื่นไถลมาก


การดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ให้ปลอดภัย

อย่า สูบบุหรี่ หรือทำงานใดๆที่เกิดประกายไฟใกล้กับแบตเตอรี่ ทำการตรวจเช็คแรงเคลื่อนของแบตเตอรี่ เพราะแบตเตอรี่ขนาด 6v. หรือ 24v. ไม่สามารถนำมาพ่วงกับแบตเตอรี่ขนาด 12 v. ได้ จะทำให้เกิดระเบิดขึ้นได้ ต้องแน่ใจว่ารถไม่ได้สตาร์ทเครื่อง ให้การตรวจเช็คสภาพแบตเตอรี่ โดยดูจากที่วัดของแบตเตอรี่ หรือใช้ที่วัดความถ่วงจำเพาะ(HYDROMETER) โดยดูจากสีของที่วัดเพื่อแสดงประจุไฟของแบตเตอรี่ ถ้าเป็นสีเขียวแสดงว่าระจุไฟฟ้าเต็ม ถ้าเป็นสีน้ำตาล หรือสีดำ แสดงว่าประจุไฟหมด สมควรชาร์ทแบตเตอรี่ ถ้าเป็นสีเหลือง แสดงว่าสมควรที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้แล้ว ต้องมั่นใจว่าขั้วแบตเตอรี่ทั้งขั้วบวกและขั้วลบสะอาด และถ้าต้องการที่จะทำความสะอาดให้ใช้น้ำร้อนราดที่ขั้วแบตเตอรี่ได้ อย่าให้สายพ่วงแบตเตอรี่โดนกัน ขั้นแรกนำสายพ่วงแบตเตอรี่สีแดงหรือบวกต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่ที่ ต้องการพ่วงก่อน แล้วจึงต่อกับแบตเตอรี่ที่ด้านบวก ต่อไปนำสายพ่วงแบตเตอรี่สีดำหรือลบต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่ดี แล้วสุดท้ายต่อสายพ่วงสีดำกับขั้วลบแบตเตอรี่ที่ต้องการพ่วง ติดเครื่องยนต์ที่แบตเตอรี่ดี เพื่อเดินเครื่องรอบเดินเบาสักพัก อย่าเปิดไฟหน้าในการสตาร์ทเครื่องยนต์ เพราะกำลังไฟจะตก ทำให้เกิดความเสียหายกับรถยนต์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ สตาร์ทเครื่องยนต์ที่แบตเตอรี่ไม่ดี เมื่อเครื่องติดให้เอาสายพ่วงแบตเตอรี่ออก ในลำดับย้อนกลับกับการต่อ เมื่อทำการพ่วงแบตเตอรี่เส็จแล้วควรเร่งเครื่องไว้ที่ 2000 รอบ แล้วทำการตรวจสภาพของแบตเตอรี่ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น