รีเลย์เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีใช้อยู่ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟลำดับที่สอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า secondary switch
โดยมากมักจะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าสูง
รีเลย์อาจทำงานด้วยแรงดันต่ำมาก คือ 3 Volt ไปจนถึง 24 Volt
รีเลย์ในรถยนต์ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt และในทางปฏิบัติ เราเลือกใช้รีเลย์สำหรับรถยนต์กับรถยนต์เท่านั้น
แม้ว่ารีเลย์ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยแรงดัน 12 Volt จะมีอยู่ แต่ไม่นิยมใช้ในรถยนต์
อาจเนื่องจากขาของรีเลย์มีรูปต่างต่างกัน ต้องแปลงขา - แปลงขั้วต่อจนทำให้วุ่นวายเกินเหตุ
รีเลย์ในรถยนต์ทำหน้าที่ดังนี้
1. รีเลย์ไฟเลี้ยว (แฟลชเชอร์)
2. รีเลย์ไฟหน้ารถ
3. รีเลย์พัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ
4. รีเลย์ตู้แอร์(คอยล์)เย็น
5. ปัมพ์เชื้อเพลิง(ระบบหัวฉีด)
6. รีเลย์ช่วยสตาร์ท
7. รีเลย์แตร
8. อื่นๆ
ที่เรียกว่ารีเลย์เป็นสวิทช์อันดับสอง หมายความว่า มีสวิทช์ลำดับที่หนึ่ง (Primsry switch) อยู่
ตัว อย่างของสวิทช์ลำดับที่หนึ่งก็ได้แก่ ก้านไฟเลี้ยวบนพวงมาลัย สวิทช์ไฟหน้าบนพงมาลัย เซนเซอร์อุณหภูมิที่หม้อน้ำ สวิทช์แอร์บนคอนโทรลกลาง สวิทช์กุญแจ และ ปุ่มกดแตรที่พวงมาลัย
ลักษณะ ของสวิทช์ลำดับที่หนึ่งคือ เล็ก เบา ราคาสูง เป็นอุปกรณ์เฉพาะรุ่น ทนกระแสไฟฟ้าได้ไม่มาก บางครั้งออกแบบมาอย่างสวยงามเพราะต้องอยู่ในห้องผู้โดยสาร
สวิทช์ลำดับที่หนึ่งบางแบบเป็นเซนเซอร์ เช่น เซนเซอร์อุณหภูมิที่หม้อน้ำ
ด้วยเหตุทั้งหลายนี้ รีเลย์จึงเข้ามาทำหน้าที่เปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินกระแสไฟฟ้าสูงๆ อย่างน้อยก็แตรเป็นต้น
จะเห็นได้ว่า Relay จะมีบทบาท กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ในรถยนต์ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะระบบการทำงานหลัก ของรถยนต์
เช่นระบบจ่ายน้ำมัน และระบบระบายความร้อน ถ้า Relay ไม่ทำงานเพียงอย่างเดียว ก็สามารถทำให้ ต้องจอดรถข้างทางได้เช่นเดียวกัน
เรามักจะเรียกรีเลย์ติดปากว่า "รีเลย์ห้าขา"
รีเลย์ที่ใช้ในรถยนต์มีตั้งแต่รีเลย์สามขา - รีเลย์สี่ขา - รีเลย์ห้าขา หรือมากกว่านั้นก็มี
แต่จำนวนขาเพียงอย่างเดียว ไม่ได้บอกลักษณะการทำงานของมันแต่อย่างใด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น