วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับรถยนต์

รถยนต์ไม่เคยล้างตู้แอร์ ปัจจุบันสภาพแอร์ปกติ มีความจำเป็นที่จะต้องล้างตู้แอร์ หรือไม่ ?
ถ้าไม่มีกลิ่นอับมาก ลมแอร์ที่พ่นออกมายังแรงเหมือนเดิมก็ไม่จำเป็น ถ้ามีกลิ่นอับ
และลมไม่แรงในจังหวะ Hi แสดงว่าตู้แอร์ตันควรจะตรวจเช็คหรือล้างใหม
่ที่ศูนย์บริการโตโยต้า

ทำไมต้องดูแลและบำรุงรักษายาง
ยางรถยนต์เป็นสิ่งเดียวที่อยู่ระหว่างถนนกับรถของท่าน ยางทำหน้าที่รับน้ำหนัก
รถ ส่งผ่านกำลังจากเครื่องยนต์ เคลื่อนตัวไปตามทิศทางที่บังคับเกาะถนน ให้ผลจากการขับเคลื่อนหรือเบรค ยางจึงเป็นส่วนสำคัญของช่วงล่างรถยนต์
จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมท่านจึงต้องดูแลรักษายางของรถท่าน
การดูแลรักษาด้วยวิธีง่ายๆทำเป็นประจำ จะช่วยให้ยางอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน
อย่างเต็มประสิทธิภาพตลอดอายุใช้งาน ข้อแนะนำในการดูแลและบำรุงรักษามีดังนี้

* ทุก 2 อาทิตย์ ตรวจสอบความดันลมในขณะที่ยางเย็น
- ใช้อัตราสูบลมตามที่บริษัทผู้ผลิตกำหนด
- ยางอะไหล่ ควรสูบลมมากกว่าปกติ 3-4 ปอนด์ต่อ ตร.นิ้วเวลาจะนำไปใช้
จึงปล่อยลมให้เท่ามาตรฐานตรวจสอบฝาครอบวาวล์เติมลมให้แน่ใจว่า
มีอยู่และปิดสนิทดีทุกตัว

* ทุกเดือน หรือ เมื่อเห็นว่าจำเป็นตรวจดูว่ามีหินก้อนเล็ก หรือตะปูติดอยู่ตามร่องดอก
หรือไม่ ถ้ามีให้เขี่ยออก
-วัตถุดังกล่าวจะเบียดฝังตัวเองลงไปเรื่อยๆ ขณะยางวิ่งทำให้ยางเสียหายได้ในที่สุด
ตรวจดูความสึกหรอของหน้ายางด้วยตาเปล่า
- ถ้าสึกไม่เท่ากัน หรือสึกผิดปกติควรปรึกษาช่าง
- ถ้าความลึกของดอกยางเหลือไม่ถึง 2 มม. ก็ควรเปลี่ยนยางเส้นใหม่

ข้อควรระวัง

- ยางสึกเร็วกว่าปกติเมื่อ
- ถนนไม่ดี มีหลุมบ่อ ก้อนหิน หรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ อยู่มาก
- เข้าโค้งอย่างรุนแรง
- ออกรถพุ่งกระโจน
- เบรคอย่างกระทันหัน
- โปรดหลีกเลี่ยงการใช้งานในสภาพดังกล่าว
- การขับรถปีนขอบถนน หรือเสียดสีกับฟุตบาท จะทำให้แก้มยางเสียหายได้
- หลีกเลี่ยงไม่ให้น้ำมัน เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเบนซิน ฯลฯ หรือสีต่างๆ
ถูกตัวยางเพราะสารเหล่านั้นจะทำให้ยางเสื่อมคุณภาพ และเสียหาย
ในภายหลังได้ ในกรณีนี้ ขอให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่
- อย่าบรรทุกเกินอัตรา หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ขอให้เพิ่มความดันลม
ตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
- ใช้ยางกับกะทะล้อให้สัมพันธ์กันตามที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์กำหนด
- ตรวจดูกะทะล้อให้ทั่ว กะทะจะต้องไม่มีสนิมหรือรอยชำรุดบิดเบี้ยว
- เปลี่ยนวาล์วเติมลมตัวใหม่ทุกครั้งเมื่เปลี่ยนแปลง
- ก่อนใส่ยางเข้ากับกะทะล้อ ต้องทาสารหล่อลื่นพิเศษสำหรับของยาง
ทั้งสองด้าน
เพื่อให้การใส่ยางเป็นไปได้ง่ายและช่วยป้องกันไม่ให้ของยางฉีกขาดด้วย
- ถ่วงล้อและตั้งศูนย์ทุกครั้ง เมื่อเปลี่ยนยาง หรือ สลับยาง รวมทั้งยางอะไหล่
ด้วย
- อย่าใช้ยางผ้าใบเฉียงกับยางเรเดียลบนเพลาเดียวกัน ถ้าจำเป็นให้เอายาง
เรเดียลไว้ล้อหลังเสมอ ไม่ว่ารถนั้นจะขับเคลื่อนด้วยล้อใดก็ตาม

จอดรถกลางแดด ควรยกที่ปัดน้ำฝนขึ้นหรือไม่?
คำตอบคือ ไม่ควรยกที่ปัดน้ำฝนขึ้น เพราะยางที่ปัดน้ำฝนมีคุณสมบัติทนต่อความร้อน
ได้ดี และ ที่ผิวกระจกก็ไม่ได้มีความร้อนสูงมากมายนัก นอกจากนี้การยกที่ปัดนำฝน
ขึ้นบ่อยๆอาจเป็นผลให้ความเป็นสปริงของก้านที่ปัดน้ำฝนเกิดล้า ทำให้ยางปัดน้ำฝน
ไม่แนบกับกระจกตลอดความยาว ทำให้ปัดน้ำออกไม่ดีเท่าที่ควรการจะให้ยางปัดน้ำฝน
มีอายุการใช้งานนานนั้นคือการทำความสะอาดกระจกเสมอๆ ไม่ปล่อยให้กระจกมี
สิ่งสกปรกหรือสิ่งแปลกปลอมติดอยู่ เช่น ละอองสี ละอองโคลน เม็ดทราย ฯลฯ
เพราะสิ่งเหล่านี้จะสะดุดกับยางปัดน้ำฝน ทำให้ยางปัดน้ำฝนบริเวณดังกล่าวสึกหรอ
รวดเร็ว

มีข้อควรระวังอะไรบ้างในการเติมน้ำกลั่น
ข้อควรระวังในการเติมน้ำกลั่น
1. เติมเฉพาะน้ำกลั่นเท่านั้น
2. อย่าเติมเกินขีดสูงสุด น้ำกรดจะเดือดกระเด็นออกมาขณะใช้งาน
3. อย่าสูบบุหรี่ หรือจุดไม้ขีดบริเวณใกล้ ๆ แบตเตอรี่อาจเกิดระเบิดได้
4. อย่าให้น้ำกรดเข้าตา , ถูกผิวหนัง , เสื้อผ้า

การนำรถไปพบช่าง
1. ควรบอกอาการเสียของรถให้ละเอียด ประวัติการซ่อมหรือเปลี่ยนอะไหล่ที่
เกี่ยวข้องกับการเสีย

2. ถ้าต้องทิ้งรถไว้ควรนำของในรถที่ไม่จำเป็นเช่น เทป หนังสือและของมีค่า
ต่าง ๆ เก็บไว้ที่บ้าน

3. อย่าเชื่อถือคนที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือไม่มีความรู้เรื่องช่างจริง

4. ควรเก็บคู่มือและสเป็คเครื่องต่าง ๆ ไว้เพื่อให้ช่างตรวจดูเครื่องยนต์ได้
สะดวก

5. ควรขอที่อยู่ เบอร์โทรของร้าน เพื่อจะได้โทรมาสอบถาม และทิ้งที่อยู่ของคุณ
ไว้ให้ช่างในกรณีที่ต้องการจะโทรมาถามในเรื่องการตัดสินใจเปลี่ยนอะไหล่

6. ขอบิลที่ลงรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนอะไหล่และเก็บไว้ให้ดี เพื่อ
การตรวจเช็คและยืนยัน

7. ขอดูอะไหล่เก่าทุกชิ้นที่ช่างบอกว่าเปลี่ยนให้ใหม่

8. เมื่อนำรถออกจากอู่ หากพบว่ายังมีสิ่งผิดปกติ รีบนำรถกลับมาให้ช่าง
ตรวจเช็คใหม่โดยเร็ว

9. ตรวจสอบอุปกรณ์อื่น ๆ ภายในรถก่อนที่จะนำออกจากอู่ว่ามีอะไร สูญหาย
หรือถูกสับเปลี่ยนไปหรือไม่

10. ถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้มีความรู้เรื่องช่างช่วยตรวจเช็คว่า มีการตรวจซ่อม
สมบูรณ์และเปลี่ยนอะไหล่จริงหรือไม่

การตรวจรถก่อนออกเดินทาง
ก่อนออกเดินทางทุกครั้ง ผู้ขับขี่จะต้องตรวจสภาพรถเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ
ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสภาพของรถ ผู้ขับขี่จะต้องตรวจสอบสภาพรถในเรื่องต่าง ๆ
ดังนี้

1. ยาง ดอกยางควรมีมากเพียงพอต่อการยึดเกาะถนนและการทรงตัวที่ด
ี ความดันลมยาง ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในเรื่องอัตราการสูบลมของยาง
ทั้งนี้เพื่อประสิทธิภาพในการเบรกและการทรงตัวที่ดี ดอกยางควรลึกไม่น้อย
กว่า 1 มิลลิเมตร

2. สัญญาณไฟ เช่นไฟหน้า ไฟหลัง ไฟเลี้ยว ไฟเบรค ต้องอยู่ในสภาพใช้
การได้ดี โคมไฟหน้าต้องไม่ส่องสูงจนแสงไฟเข้าตาคนขับรถสวนมา หรือ
รถที่แล่นนำหน้า

3. ที่ปัดน้ำฝน ใบปัดน้ำฝนต้องอยู่ในสภาพใช้การได้ดี

4. กระจก กระจกมองหลังต้องปรับให้เหมาะสม กระจกข้าง จะต้องอยู่ใน
ลักษณะที่สามารถมองเห็นรถที่แล่นตามมาได้อย่างชัดเจน

5. แตร ต้องอยู่ในสภาพดี เสียงแตรไม่แตกพร่า

6. คลัตช์ คันเหยียบเบรก ต้องอยู่ในระดับดีพอไม่สูงต่ำเกินไป รวมทั้ง
เบรกมือต้องอยู่ในสภาพที่ดี

7. หม้อน้ำ น้ำในหม้อน้ำต้องมีอยู่เต็มพอดีเสมอ

8. น้ำมันคลัตช์ น้ำมัเบรก น้ำมันเกียร์ เฟืองท้าย เกียร์พวงมาลัย พวงมาลัย
ต้องมีอยู่ในสภาพใช้การได้ดี

9. สายพาน ต้องอยู่ในสภาพดี ไม่หย่อนมีรอยปริหรือหัก

10. เบาะที่นั่งของคนขับ ต้องอยู๋ในระยะและลักษณะที่เหมาะสม

11. ประตู ต้องปิด และล็อกเป็นอย่างดี

12. ติดเครื่องดูหน้าปัดมาตราวัด ตรวจว่าทุกมาตรทำงาน อย่างถูกต้อง

13. น้ำหนักบรรทุก ต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสม หากรถเอียงไปข้างใด
ข้างหนึ่งเนื่องจากการบรรทุก ให้แก้ไขจัดวางสิ่งของที่บรรทุกเสียใหม่
รวมทั้งหากมีการบรรทุกสิ่งของยื่นยาวเกินไปจากตัวรถ ต้องผูกรัดให้
มั่นคงแข็งแรง และจัดให้มีสัญญาณธงหรือไฟห้อยเตือนอันตรายไว้

14. อุปกรณ์ความปลอดภัย ต้องอยู่ในสภาพดี ใช้งานได้เช่น เครื่องดับ
เพลิง เข็มขัดนิรภัย เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ในการขับขี่

15. การดูแลรถยนต์ เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อยจะช่วยทำให้ประหยัดน้ำมันเช่น

15.1 เดินเบาเครื่องยนต์ 2-3 นาที ก่อนนำรถออกใช้งาน จะช่วย
ประหยัดเชื้อเพลิง ถ้าท่านขับรถความเร็วเกิน 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ขึ้นไป การอุ่นเครื่องยนต์ก่อนจะทำให้ท่านประหยัดน้ำมัน

15.2 ปรับแต่งรอบเครื่องยนต์เดินเบาให้ถูกต้อง อย่าให้เร่งจนเกินไป
15.3 การติดตั้งคลัตช์พัดลมหม้อน้ำ ก็ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง

การบำรุงรักษาด้วยตัวเอง 6 ประการ
1. ตรวจระดับน้ำ 8 จุด

* หม้อพักน้ำ
* น้ำล้างกระจก
* น้ำกลั่นแบตเตอรี่
* น้ำมันเครื่อง
* น้ำมันเบรค
* น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์
* น้ำมันคลัทช์
* น้ำยาแอร์ (ดูที่ช่องกระจกของตัวรีซีฟเวอร์จะเห็นของเหลววิ่งอยู่
ในภายใน)

2. ตรวจลมยาง
มีแรงดันลมยางอยู่ในค่ากำหนดตามคู่มือรถแต่ละรุ่นไม่อ่อนเกินไป
ไม่แข็งเกินไป

3. ตรวจระบบไฟแสงสว่าง
ไฟส่องสว่างติดทุกดวง

4. ตรวจการทำงานหัวฉีดน้ำล้างกระจก
ถ้าอุดตัน หรือต้องการปรับทิศทางให้ใช้เข็มแหย่ที่หัวฉีดแล้วปรับทิศทาง
ได้ตามต้องการ

5. ฟังเสียงผิดปกติของเครื่องยนต์
ถ้ามีเสียงผิดปกติที่เครื่องยนต์เกิดขึ้น ควรรีบน้ำรถเข้าศูนย์บริการใกล้บ้าน

6. ถ้าต้องเจอรถทิ้งไว้นาน ๆ ควร
- ขึ้นขาตั้งให้ล้อทั้ง 4 ลอย หรือขยับรถให้เปลี่ยนผิวหน้ายางบ้าง
- สตาร์ทรถทุกวัน อย่างน้อย วันละ 5 นาที


การล้างรถและการเคลือบสีทำอย่างไร
การล้างรถ
1. ใช้น้ำมาก ๆ เทหรือราดบนตัวถัง เพื่อให้สิ่งสกปรกหลุดออกแล้วค่อยล้างรถ
2. ใช้ฟองน้ำหรือผ้าชามัวร์เช็ดถูเอาสิ่งสกปรกออก
3. ไม่ควรใช้เครื่องล้างอัตโนมัติล้างรถที่มีสีเข้ม ๆ
4. ล้างรถจากด้านบนลงสู่ด้านล่าง
5. เช็ดละอองน้ำออกในทิศทางเดียว
การเคลือบสี
1. ใช้น้ำยาเคลือบตามระยะที่กำหนดตามคุณสมบัติของน้ำยาเคลือบสี
2. ใช้น้ำยาเคลือบสีในปริมาณที่เหมาะสม
3. ลงน้ำยาเคลือบสีในทิศทางเดียว
4. ไม่ควรลงน้ำยาเคลือบสีหลังจากที่รถถูกใช้งานมาเลยทันที
5. ระยะเวลาสำหรับขัดออกจะต้องเหมาะสมกับคุณสมบัติของน้ำยาเคลือบนั้น ๆ

ลมยาง
การที่เราสูบลมยางน้อยเกินไปหรือบรรทุกน้ำมันมากกว่าที่กำหนดเอาไว้
เมื่อรถต้องวิ่งด้วยอัตราความเร็วสูง จะทำให้เกิดอันตรายได้ง่ายตลอดจน
อายุการใช้งานของยางก็จะสั้นลงด้วย

1. การสูบลมน้อยเกินไป จะทำให้แก้มยางมีการยืดและหดตัวมากผิดปกติเป็นสาเหตุให้
เกิดความร้อนสูงมาก ผลก็คือทำให้ยางล่อน หรือ ผ้าใบหักได้และเป็นสาเหตุให้ดอกยาง
ด้านข้างทั้งซ้ายและขวาสึกเร็วกว่าตอนกลาง

2. การสูบลมมากเกินไป เป็นสาเหตุให้หน้ายางเกาะถนนได้ไม่เต็มที่เกิดการสะเทือน
มากกว่าปกติ จะทำให้โครงยางเสียหายได้เนื่องจากผ้าใบตึงเครียดง่ายต่อการถูกบาด
และดอกยางตอนกลางสึกเร็วกว่าด้านข้างทั้งสอง

3. การสูบลมที่ถูกต้องตามกำหนด จะทำให้ดอกยางทุกส่วนสัมผัสผิวถนนได้สม่ำเสมอเท่า ๆ กันมีประโยชน์มากในการรักษายางให้ใช้ได้ตลอดอายุของมันเพิ่มความปลอดภัย
ในขณะขับขี่รถและยังลดค่าใช้จ่ายในเรื่องยางรถยนต์อีกด้วย

*** การวัดอัตราลมยางที่ถูกต้องนั้นต้องจะต้องวัดในขณะที่ยางอยู่ในสภาพเย็น***

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาตามระยะเวลา
1. ประหยัดน้ำมัน
2. อายุการใช้งานยาวนานขึ้น
3. เพลิดเพลินในการขับขี่
4. ปลอดภัย
5. ได้รับการประกันตามเงื่อนไข
6. ถูกต้องตามข้อบังคับทางกฎหมาย

ความสะอาดของห้องโดยสาร
ควรมีการดูดฝุ่นเป็นประจำทุกสัปดาห์ นำพรม หรือ ยางรองพื้นออกมาทำความสะอาด
และผึ่งแดด เปิดประตูทุกบาน และจอดตากแดดประมาณ 1 ชม. เพื่อไล่กลิ่นอับและความชื่น

- ควรทำความสะอาดช่องแอร์บนแผงหน้าปัดเป็นประจำ เพราะถ้ามีฝุ่นติดอยู่จะถูกเป่า
ออกมา ฟุ้งกระจายในห้องโดยสาร

- ทำความสะอาดเบาะนั่งและแผงข้างประตู ส่วนการเคลือบเงากับเบาะนั่ง พวงมาลัยและ
หัวเกียร์ ควรระวังเรื่องความลื่นไว้ด้วย

- ควรทำความสะอาดฝุ่นหรือคราบสกปรกบนกระจกด้านในและด้านนอกเพราะมีผลกระทบ
กับทัศนะวิสัยในขณะขับขี่


น้ำมันเกียร์
สถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา (API) ได้แบ่งชั้นน้ำมันเกียร์ออกตาม
การออกแบบของชุดเกียร์และภาระการทำงาน น้ำมันเกียร์ยังคงมีค่าความหนืด
SAE ต่าง ๆ กัน แต่จะไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องยนต์

พิกัดบริการของน้ำมันเกียร์ตาม API

GL1 เป็นน้ำมันเกียร์ใช้งานทั่วไป

GL2 เป็นน้ำมันเกียร์ใช้กับเฟืองหนอน

GL3 เป็นน้ำมันเกียร์ใช้งานหนักสำหรับห้องเกียร์ธรรมดา และสำหรับเฟืองดอกจอกฟันโค้ง
ที่ใช้งานหนักปานกลาง

GL4 เป็นน้ำมันเกียร์งานหนักสำหรับเฟืองท้ายที่เป็นแบบ เฟืองไฮปอยด์

GL5 เป็นน้ำมันเกียร์งานหนักอเนกประสงค์สำหรับเฟืองท้ายแบบ เฟืองไฮปอยด์ และ
ดิฟเฟอเรนเซียลแบบต้านการลื่นไถล


ข้อควรระวังในการใช้น้ำมันเบรก

1. อย่าใช้น้ำมันเบรกปะปนกันการผสมน้ำมันเบรกต่างชนิดกันจะทำให้จุดเดือด
ของน้ำมันเบรกลดลง และปฎิกริยาหักล้างกันในน้ำมันเบรก ทำให้สภาพของน้ำ
มันเบรกเปลี่ยนแปลงไป หรือ น้ำมันเบรกเสื่อมสภาพ

2. อย่าให้มีน้ำมันเบรกปนกับน้ำอย่าให้มีน้ำหรือของเหลวอย่างอื่นปะปนในน้ำ
มันเบรก ซึ่งจะเป็นผลให้จุดเดือดของน้ำมันเบรกลดลง และสภาพของน้ำมัน
เบรกเสื่อม

3. อย่าใช้น้ำมันเบรกปนกับน้ำมันแร่หรือน้ำมันทำความสะอาดน้ำมันแร่และ
น้ำมันทำความสะอาดมีผลต่อการชำรุดของชิ้นส่วนยางเมื่อทำการถอดประกอบ
เบรคต้องทำความสะอาดน้ำมันเครื่องและน้ำมันทำความสะอาดออกจากชิ้นส่วน
ออกให้หมด

4. เก็บรักษาน้ำมันเบรกให้ถูกต้องเพื่อป้องกันน้ำมันเบรกจากการปะปนกับน้ำ
สิ่งสกปรกและฝุ่นภาชนะที่บรรจุควรมีฝาปิดมิดชิดแน่นหนาระหว่างการเก็บ
รักษา

ทำไมต้องเปลี่ยนน้ำมันเบรค ?
เนื่องจากน้ำมันเบรคเป็นสารประกอบที่คุณสมบัติดูดซับความชื่นได้ง่าย โดย
จะสัมผัสกับอากาศที่อยู่ภายในกระปุกน้ำมันเบรค เพราะว่าจะมีอากาศผ่าน
เข้าไปภายใน ผ่านทางรูหายใจ เมื่อเบรคทำงานจะเกิดการดูดซับไอน้ำจาก
อากาศ เพราะฉะนั้นจำนวนไอน้ำที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรคจะเพิ่มขึ้นตาม
ระยะเวลาที่ใช้ และทำให้จุดเดือดต่ำลง น้ำมันเบรคจึงกลายเป็นไอได้ง่าย
เมื่อน้ำมันเบรคร้อน ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพในการส่งแรงดันไปยังผ้าเบรค
ต่ำลง การเบรคจะอันตรายมากขึ้น

น้ำมันเครื่องเกรดรวมคืออะไร ?
สามารถพิจารณาได้จากการแบ่งระดับ SAE โดยที่น้ำมันเกรดเดียว
จะมีช่วงอุณหภูมิที่สามรถใช้ได้นั้นแคบ ดังนั้นน้ำมันเกรดเดียวจึง
เหมาะสำหรับแต่ละฤดู ซึ่งต้องการใช้โดยเฉพาะ ส่วนน้ำมันเกรดรวม
นั้นสามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล เนื่องจากช่วงอุณหภูมิที่สามารถใช้ได้
กว้าง ปัจจุบันน้ำมันเกรดรวมเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจาก
สามารถใช้ได้ในช่วงอุณหภูมิกว้าง และมีประสิทธิภาพในการประหยัด
น้ำมันสูง การแบ่งระดับชั้น SAE คือการแบ่งระดับของน้ำมันโดยความ
หนืด และช่วงอุณหภูมิที่สามารถใช้น้ำมันนี้ได้ ระดับ SAE มีทั้งสิ้น 11
ระดับ จาก 0W - 60 ดังนี้ 0w , 5w , 10w , 15w , 20w , 25w , 20 ,
30 , 40 , 50 และ 60 จำนวนตัวเลขที่มากขึ้นหมายถึง ความหนืดมาก
ขึ้นด้วย ( เกรดที่มี W ต่อท้ายจะต้องผ่านการทดสอบค่าแรงเสียดทาน
ภายใต้อุณหภูมิต่ำ เหมาะสำหรับภูมิอากาศหนาว )

ตัวอย่างสำหรับเครื่องยนต์ของโตโยต้า สามารถแบ่งประเภทน้ำมัน
เครื่อง ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน ได้แก่
- น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ SAE 5W-40 API SH
- น้ำมันเครื่องเบนซิน SAE 10W-30 API SJ
- น้ำมันเครื่องเบนซิน SAE 20W-40 API SH
2. น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ได้แก่
- น้ำมันเครื่องดีเซล SAE 15W-40 API CF-4

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเติมน้ำมันเครื่องใหม่ลงไปผสมกับน้ำมันเครื่อง
ที่มีอยู่แล้ว ?
เศษผงโลหะต่าง ๆ จากการสึกหรอของเครื่องยนต์รวมทั้งผงคาร์บอน
และสิ่งสกปรกต่าง ๆ จะยังคงอยู่เช่น ยางเหนียวที่สะสมอยู่ในน้ำมัน
เครื่อง (เนื่องจากน้ำมันเสื่อมสภาพ) หลังจากระยะเวลาในการเปลี่ยน
ถ่ายน้ำมันเครื่องได้ผ่านพ้นไปแล้ว เมื่อสารเพิ่มคุณภาพได้ถูกใช้ไป
หมดทำให้น้ำมันเครื่องมีประสิทธิภาพการหล่อลื่นลดลงและเกิดผล
เสียต่อเครื่องยนต์ในที่สุด

การขึ้นเขาโดยรถเกียร์ Auto ควรใช้อย่างไร จึงจะประหยัด
น้ำมัน ?
ขณะขึ้นเขาใช้เกียร์ " D " ได้ตามปกติ เพราะเกียร์จะเปลี่ยน
ให้ตามสภาพตามความเร็ว และความต้องการแรงขับเคลื่อนโดย
อัตโนมัติ แต่ในขณะลงเขา ถ้าความเร็วไม่มาก ความชันไม่มาก
ก็ยังคงใช้เกียร์ " D " ได้
สำหรับการลงเขาที่มีความชันมาก และมีความเร็วมาก ควร
เปลี่ยนเป็น " 2 " หรือ " L " เพื่อให้เครื่องช่วยในการเบรก ไม่ควร
ใช้เบรกมือช่วย เพราะจะทำให้เบรกร้อนจนเบรกไม่อยู่


ทำไมจึงต้องกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแต่ละครั้ง
เพิ่มเติมจากการกำหนดการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะทาง ?
เนื่องจากน้ำมันเครื่องค่อยๆ ทำปฏิกิริยารวมตัวกับออกซิเจนในอากาศและเสื่อม
สภาพลง แม้ว่าจะไม่ค่อยได้ใช้รถก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการเดิน
ทางเป็นระยะสั้นๆ ซึ่งเครื่องยนต์ ได้หยุดการทำงานก่อนที่น้ำมันเครื่องจะร้อนขึ้น
ทำให้ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเครื่องไม่มีโอกาสระเหยออกมา ขณะเดียวกัน
สารเพิ่มคุณภาพต่างๆในน้ำมันจะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้อายุการใช้
งานของน้ำมันเครื่องสั้นลง ดังนั้นการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องจึงถูกกำหนดให้
เปลี่ยนตามระยะเวลาด้วย

อะไรจะเกิดขึ้นถ้าเราใช้น้ำมันผิดประเภทโดยใช้น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์
เบนซินไปใช้กับเครื่องดีเซล

ถ้าเราใช้น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์เบนซินกับเครื่องยนต์ดีเซลมีผลทำให้
การหล่อลื่นแย่ลง และเครื่องยนต์เกิดการกัดกร่อนและเสียหายอย่างรวดเร็ว

เหตุผล
น้ำมันโซล่าหรือน้ำมันดีเซลประกอบด้วยสารประกอบประเภทกรด เช่น ซัลเฟอร์
มากกว่าน้ำมันเบนซิน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเติมสารเพิ่มคุณภาพประเภทต้านทาน
การรวมตัวกับออกซิเจน และการป้องกันสนิมลงในเครื่องยนต์ดีเซลมากกว่า
เครื่องยนต์เบนซิน
เมื่อใช้น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลในรถยนต์เบนซิน ปัญหาจะไม่เกิด
ขึ้นในระยะสั้น แต่ถ้ายังใช้น้ำมันเครื่องนี้ต่อไปอีกระยะยาวจะก่อให้เกิดปัญหา
ขึ้น เช่น กำลังของเครื่องยนต์ลดลง เพราะว่าการหล่อลื่นในเครื่องยนต์แย่ลง
จะเกิดการสึกหรออย่างรวดเร็ว

เหตุผล
น้ำมันเครื่องสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลประกอบด้วยสารช่วยชะล้างทำความสะอาด
ในปริมาณน้อยซึ่งทำงานอยู่ในช่วงอุณหภูมิต่ำ - กลาง ดังนั้นเมื่อใช้น้ำมันเครื่อง
นี้ในเครื่องยนต์เบนซินเป็นระยะเวลานานทำให้ความสามารถในการละลาย
ยางเหนียวในน้ำมันที่อุณหภูมิต่ำไม่เพียงพอ และยางเหนียวจะรวมตัวเป็นตะกอน
ซึ่งขัดขวางการไหลเวียนของน้ำมัน และส่งผลทำให้การหล่อลื่นในเครื่องยนต์
แย่ลง



การ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง กรณีรถใช้งานไม่หนัก (เช้าขับไปทำงาน-เย็นขับกลับบ้าน) รถไม่ติด จำเป็นต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องตามระยะหรือไม่ ถ้าสภาพน้ำมันเครื่องยังไม่ดำ ?

ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุก 10,000 กม. เพราะรถเป็นรถใช้ตามปกติไม่หนัก แต่น้ำมันเครื่องต้องถูกต้องตามคู่มือของโตโยต้าระบุไว้


ในสภาวะที่น้ำมันแพง เรามีความจำเป็นจะต้องจอดรถอยู่กับบ้านเป็นเวลาหลายวัน
อยากทราบว่าจะมีผลเสียอะไรหรือไม่ ?

ถ้า จอดภายใน 1 สัปดาห์ ควรจะนำรถออกมาขับบ้าง อย่าติดเครื่องยนต์อย่างเดียว ระบบทุกระบบของเครื่องยนต์จะได้ทำงาน ชิ้นส่วนของรถยนต์ต่าง ๆ จะไม่เสียเร็ว
เช่น ยาง ถ้าจอดอยู่กับที่นาน ๆ แก้มยางจะเสียรูป



การเติมน้ำมันสลับกัน เช่น เดือนนี้เติมเซลล์ เดือนหน้าเติม เอสโซ่
จะมีผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่ ?เอสโซ่ จะมีผลต่อเครื่องยนต์หรือไม่ ?

-ไม่มีผลแต่ขึ้นอยู่กับน้ำมันที่เติมว่าถูกต้องตามกระทรวงพาณิชย์ระบุไว้หรือเปล่า
- ถ้าไปเติมน้ำมันที่มีสาร SOLVENT เจือปน สารตัวนี้จะมีราคาถูก อาจทำให้
เครื่องยนต์มีปัญหาได้
การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง

การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง คือ การวัดปริมาณการใช้น้ำมันของรถยนต์
ต่อหน่วยระยะทาง ดังนั้นการที่แสดงว่าเครื่องยนต์หรือรถยนต์มีการประหยัด
น้ำมันได้เท่าไหร่นั้นก็คือ การสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อที่จะแสดงค่าการ
สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงของรถยนต์ มีวิธีวัดที่แตกต่างกันอยู่ 2 วิธีคือ

หนึ่ง. คือการวัดโดยขับรถที่ระยะทางคงที่ และวัดประมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ไป
หน่วยที่ใช้วัดคือ จำนวนลิตรต่อ 100 กม. (L/100)
สอง. คือการวัดระยะทางที่รถวิ่งต่อประมาณเชื้อเพลิงที่กำหนดให้ หน่วยที่
ใช้วัดคือ กม./ลิตร (กม./L) หรือ ไมล์ต่อแกลลอน

หมายเหตุ
ค่าการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่ได้จากการวัดจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับสภาพของการขับขี่ในขณะทำการวัด (เช่นสภาวะอากาศ สภาพเครื่องยนต์
ภาระ สภาพของถนน ในเมือง ทางหลวง ภูเขา ฯลฯ ) ค่าการสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่ประกาศโดยบริษัทผู้ผลิตรถยนต์นั้น ๆ บางครั้งอาจจะไม่ตรงกับที่เปรียบเทียบกับ
การขับขี่อย่างธรรมดาทั้งนี้เพราะว่าผู้ผลิตจะโฆษณาค่าการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง
ที่ได้รับจากการทดสอบในสภาพที่แตกต่างกันออกไป


การตรวจระดับน้ำมันเครื่อง

- จอดรถอยู่ในแนวระดับ อุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงาน แล้วดับเครื่อง
ยนต์ทิ้งไว้ 2-3 นาที เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับมาลงอ่าง แล้วจึงทำการวัด
- ตรวจระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัดน้ำมันเครื่อง ควรอยู่ระหว่างขีด " F "
และ " L "
- ถ้าไม่ได้ระดับให้เติมน้ำมันเครื่องทีละน้อย

ข้อควรระวัง
1. อย่าเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไปเพราะเครื่องยนต์อาจเสียหาย
2. ระวัง สัมผัสถูกท่อร่วมไอเสียขณะร้อน


สารเติมแต่ง (additive)

- Anti - Corrosives (สารป้องกันการกัดกร่อน)
ป้องกันการกัดกร่อนของกรดกำมะถัน ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของกรดกำมะถัน
ที่อยู่ในน้ำมันเชื้อเพลิง

- Anti - Oxidants (สารป้องกันปฏิกิริยากับออกซิเจน)
ป้องกันการเกิดOxidantsซึ่งจะทำให้เกิดการเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องและเกิด
กรดทำให้กัดกร่อนชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ป้องกันไม่ให้น้ำมันเครื่องแปรสภาพ
เป็นยางเหนียวโคลนเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด

- Detergents (สารชะล้างเขม่า)
เป็นสารช่วยชะล้างเขม่า ทำความสะอาดภายในเครื่องยนต์ และรักษาสิ่งสกปรก
ให้แขวนลอยอยู่ในน้ำมันหล่อลื่น กรองน้ำมันหล่อลื่นจะสามารถดักสารแขวนลอย
ออกไปจากน้ำมันหล่อลื่นได้ง่าย จึงทำให้เครื่องยนต์สะอาด

- Foam In hibitors (สารป้องกันการเกิดฟอง)
เป็นสารที่ช่วยลดการเกิดฟองในน้ำมันหล่อลื่นที่ไหลเวียนในระบบ โดยลดแรงตึงผิว
จึงเกิดการเป็นฟองได้ยากขึ้น

- Viscosity Index Improvers (สารปรับปรุงดัชนีความหนืด)
เป็นสารที่เพิ่มค่าดัชนี้ความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น ช่วยรักษาความหนืดได้คงที่อย
ู่เสมอแม้ว่าอุณหภูมิจะสูงหรือต่ำก็ตาม

- Pour Point Depressant (สารลดจุดไหลตัวของน้ำมัน)
เป็นตัวทำให้น้ำมันหล่อลื่นสามารถไหลได้ดีที่อุณหภูมิต่ำ จะทำให้การสตาร์ทเครื่องยนต์
ในขณะอากาศหนาวทำได้ง่ายขึ้น

- Extreme Pressure (สารป้องการสึกหรอ)
เป็นตัวทำให้น้ำมันหล่อลื่นลดแรงเสียดทานของโลหะที่เคลื่อนไหวเสียดสีกัน เพื่อลด
การสึกหรอของชิ้นส่วน และช่วยป้องกันไม่ให้โลหะละลายติดกันเมื่อชิ้นส่วนขาด
การหล่อลื่นชั่วขณะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น