เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการสตาร์ทเครื่องยนต์และการขับขี่
ก่อนจะสตาร์ทเครื่องยนต์
1. ตรวจสอบบริเวณรอบ ๆ ตัวรถก่อนจะก้าวเข้าถายในรถ
2. เบรคมือไว้
3. ปรับเบาะนั่ง พนักพิงและหมอนพิงศรีษะให้เหมาะสมและปรับระดับพวงมาลัยให้ได้
ระยะ
4. ปรับระดับกระจกส่องข้างและหลังให้ชัดเจน
5. ล๊อคประตูทุกบาน
6. รัดเข็มขัดนิรภัยให้เรียบร้อย
วิธีสตาร์ทเครื่องยนต์
(ก่อนการสตาร์ท)
1. ใสเบรคมือไว้
2. ปิดไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็น
3. เกียร์ธรรมดา เหยียบครัทช์สุด และเข้าเกียร์ว่าง เหยียบครัทช์ค้างไว้จนกระ
ทั่งสตาร์ทเครื่องยนต์ติด
(สตาร์ทเครื่องยนต์ กรณีเครื่องเย็น)
1. เหยียบคันเร่งสุดหนึ่งหรือสองครั้ง แล้วปล่อยเพื่อให้โช๊คอัตโนมัติทำงาน
2. ปล่อยเท้าออกจากคันเร่ง บิดกุญแจไปตำแหน่ง START และปล่อยให้กุญแจคืนตัวเอง
เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้ว
3. ปล่อยให้เครื่องยนต์ติดอยู่ประมาณ 10 วินาที เป็นการอุ่นเครื่องแล้วจึงนำรถ
ออกใช้งานได้ตามปกติ
(ถ้าเครื่องยนต์จอดอยู่หลายวันโดยไม่ได้ติดเครื่อง)
1. ก่อนการสตาร์ทเครื่องยนต์เหยียบคันเร่งให้สุดแล้วปล่อยประมาณสองหรือสามค
รั้ง
จะทำให้ส่วนผสมไอดีหนาขึ้นเพียงพอ
2. สตาร์ทเครื่องยนต์โยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง
3. เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วประมาณ 30 วินาที ย้ำคันเร่ง หนึ่งหรือสองครั้งเพื่อ
ให้เครื่องยนต์กลับสู่ความเร็วรอบเดินเบาปกติ
4. ให้เครื่องยนต์เดินเบาเพื่ออุ่นเครื่องชั่วขณะหนึ่งก่อนจะเริ่มออกรถ
(การสตาร์ทเครื่องเมื่อเครื่องยังอุ่นอยู่)
1. กดคันเร่งค้างไว้เพียงครึ่งเดียว ขณะที่บิดกุญแจสตาร์ท อย่าปั๊มคันเร่ง
2. ถ้าเครื่องยนต์ร้อน กดคันเร่งให้สุด ขณะสตาร์ทเครื่องอย่าปั๊มคันเร่ง
3. ถ้าเครื่องยนต์ดับ สตาร์ทเครื่องใหม่ โดยอาจแก้ไขตามวิธีที่กล่าวมาแล้วข้าง
ต้น
ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิเครื่องยนต์ ถ้าเครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติด
ข้อควรระวัง
1. อย่าสตาร์ทเครื่องติดต่อกันนานกว่า 15 วินาทีต่อครั้ง
เพราะอาจทำให้มอเตอร์สตาร์ทและระบบไฟเสียหายได้
2. อย่าเร่งเครื่องทันทีทันใด ขณะเครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ ถ้าเครื่องยนต์สตาร์
ทติดยากหรือดับบ่อย ๆ
ควรรีบนำรถไปตรวจสอบเครื่องยนต์
การตรวจเช็คก่อนออกเดินทาง
การตรวจเช็คที่ไม่เสียเวลามากนักก่อนออกเดินทาง จะช่วยให่มั้นใจและสบายใจในการ
ขับขี่
โดยจะตรวจเช็คด้วยตัวเองก็ได้ หรือจะมอบความไว้วางใจให้ศูนย์บริการแห่งใดเป็น
ผู้ตรวจ
เพื่อความปลอดภัยของท่านอย่างมีประสิทธิภาพ หากตรวจเช็คในโรงรถที่ค่อนข้าง
มิดชิดควรให้อากาศถ่ายเทได้เพียงพอ
เพราะไอเสียจะเป้นอันตรายต่อร่างกาย
ก่อนการสตาร์ทเครื่องยนต์
(ภายนอก)
1. ยาง (รวมทั้งยางอะไหล่) ตรวจระดับความดันลมยาง ดอกยาง และรอบฉีกขาด
2. น๊อตล้อ ตรวจดูว่าแน่นหนาหรือไม่
3. รอยรั่วซึม จอดทิ้งไว้สักครู่ แล้วตรวจดูว่ามีร่องรอยน้ำมันเครื่อง น้ำมัน
เกียร์ น้ำมันเบรค หรือน้ำ
รั่วซึมจากใต้ท้องรถหรือไม่ (น้ำที่หยดจากคอยล์เย็ย เครื่องปรับอากาศเป็น
เรื่องปกติธรรมดา)
4. ยางใบปัดน้ำฝน ตรวจดูรอยสึกหรอหรือรอยฉีกขาด
5. ไฟส่องสว่าง ตรวจดูไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรค ไฟเลี้ยงและอื่นๆ รวมทั้งระบบไฟ
หน้าด้วยว่ายังเป็นปกติทั้งหมด
(ภายในรถ)
1. แม่แรงและด้ามขันน๊อตล้อ ตรวจเช็คให้แน่ใจว่าแม่แรงและด้ามขันน๊อตล้อใช้งาน
ได้ปกติ
2. เข็มขัดนิรภัย ตรวจเช็คว่าหัวเข็มขัดสามารถล็อคได้เรียบร้อย และมีสภาพใช้งาน
ได้ตามปกติ
3. แตร ให้แน่ใจว่าดังดี
4. แผงควบคุมและอุปกรณ์ ตรวจดูให้แน่ใจว่าไฟสัญญาณเตือนต่าง ๆ ไฟส่องแผงมาตรวัด
ต่าง ๆ ทำงานปกติ
5. ปัดน้ำฝนและน้ำยาล้างกระจก เช็คดูระยะฟรีขาเบรคให้อยาในค่าที่กำหนด
6. ฟิวส์สำรอง ฟิวส์สำรองที่เตรียมไว้ต้องมีขนาดค่ากระแส สูงสุดที่จะครอบคลุม
ให้ตามขนาดที่กำหนดที่แผงฟิวล์
7. แบตเตอรี่และสายไฟ ตรวจดูแลเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับ ดูเปลือกแบตเตอรี่ ว่ามี
ร่องรอยเสียหายหรือไม่
ดูขั้วต่อและสายไฟ ว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่
(ใต้ฝากระโปรงหน้า)
1. ระดับน้ำหล่อเย็น ควรมีอยู่ในระดับที่ถูกต้องในถังพักน้ำสำรอง
2. หม้อน้ำและท่อยาง ตรวจดูว่าด้านหน้าหม้อน้ำหมดจดไม่มีเศษวัสดุหรือใบไม้ติด
อยู่
ดูท่อยางว่ามีรอยแยกเปื่อยมีรอบฉีกขาดหรือหลวม
3. สายไฟ ตรวจดูความเสียหาย ดูว่า มีการหลุดหรือหลวมบ้างหรือไม่
4. สายพานพัดลมและอื่นๆ ต้องไม่มีรอยแตกเลอะน้ำมันหล่อลื่นและความตึงสายพานใน
ค่าที่กำหนด
5. ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ตรวจดูว่า ท่อมีการรั่วหรือหลวมหรือไม่
(เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์แล้ว)
1. ท่อไอเสีย ตรวจดูรอยแยกรูรั่วหรือหลุดห้อยอยู่หรือไม่ ฟังดูเสียงของท่อไอ
เสียรั่ว หาที่รั่วแล้วรีบซ่อมทันที 2. ระดับน้ำมันเครื่อง วัดระดับน้ำมันเครื่องโดยดับเครื่องและจอดบนพื้นที่ได้
ระดับ
(ขณะขับขี่)
1. แผงมาตรวัดต่าง ๆ ตรวจดฌแผงมาตรวัดต่างๆ ว่าทำงานได้เป็นปกติ
2. เบรค หาที่โล่ง ๆ ทดลองเบรคว่าไม่มีอะไรผิดปกติ
วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น